Wiki → Bangkok Open Source Hackathon
Event
LOCATION | BITEC Bangna, Cleverse, DISTRICTX, ZillaSpace |
DATE | 19 February 2023 |
HOST | [Creatorsgarten] |
LINK | www.eventpop.me |
Contents
Metadata
UPDATED | 12 August 2024 |
HISTORY | GitHub |
มาสร้างกรุงเทพให้เป็น "เมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน" ด้วยการพัฒนาโปรเจคที่ "ทุกคนมีส่วนร่วมได้" 💖 พวกเราอยากจะชวนชาวกรุงเทพที่มีความสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นนักพัฒนา (developers), นักออกแบบ (designers) และผู้ที่มีความสนใจในการแก้ปัญหากรุงเทพ (ideators & domain experts) มาร่วมกันสร้าง หรือร่วมพัฒนาโปรเจคที่ช่วยแก้ปัญหาให้กับคนกรุงเทพได้ ในกิจกรรม 3 workshops และ hackathon ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ในกิจกรรม Bangkok Open Source Hackathon ครั้งนี้
เราอยากจะเห็นนักพัฒนา และผู้สนับสนุน open source (contributors) ในไทยจากแต่ละกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น developer community หรือ domain experts ที่แก้ปัญหาในสังคม ให้ได้มาทำความรู้จักกัน มาพัฒนาโปรเจคร่วมกัน หาวิธีแก้ปัญหาซึ่งกันและกัน แบ่งปันข้อมูลข้ามกลุ่ม และรับคำแนะนำจาก experts ในวงการเทคโนโลยีไทย
กิจกรรม Bangkok Open Source Hackathon เราอยากจะสนับสนุนวัฒนธรรมของ Open Source และ Public Code, Public Money ในประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาได้มากขึ้น และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
กิจกรรมนี้ จัดโดยสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย และกลุ่ม Creatorsgarten โดยได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากกรุงเทพมหานคร
🎤 Pitching
Team | Resources | Pitching |
---|---|---|
BKK Changelog | GitHub | YouTube |
Thailand Area Ranking | Web · GitHub | YouTube |
Bank For All | GitHub | YouTube |
BKK Reward Hunter | GitHub | YouTube |
Ratchagitja | GitHub | YouTube |
PolicyTracka | Web · GitHub | YouTube |
Fill You in the Blank | Web · GitHub · Discord | YouTube |
WeSpace | GitHub | YouTube |
BKK Changelog
A project to archive and generate a change log based on Traffy Fondue data.
Thailand Area Ranking
Thailand Area Ranking is an OpenSource project that helps users find suitable areas in Thailand by analyzing various factors, such as public transportation, schools, cost of living, employment rates, cleanliness and others. The results are displayed as Heatmaps, with redder areas indicating a better match to your needs. Additionally, developers can utilize our library in PIPY for real estate applications, such as searching for houses near water sources or incorporating local price data.
Bank For All
This is an open-source project aimed at creating a peer sharing and microfinance platform for people who unemployed or low-income individuals or groups who otherwise would have no other access to financial services.
BKK Reward Hunter
ทำไมเป็น Project Open Source แล้วจะหาตังไม่ได้? คุณเบนได้แชร์โปรเจ็ค Bangkok Reward Hunter ของเขา แจ้งจับคนขับมอเตอร์ไซต์บนทางเท้ารับส่วนแบ่ง At Scale ใช้ AI ทำเป็นระบบอัตโนมัติ ช่วยระบุรายละเอียด และส่งแจ้ง หวังว่าทำให้ทางเท้าปลอดภัยสำหรับทุกคนอีกครั้ง 😚 และรวยไปพร้อมๆกัน 🤑
Ratchagitja
แปลงราชกิจจานุเบกษา ให้เป็นรูปแบบที่คอมพิวเตอร์อ่านและประมวลผลต่อได้ง่ายขึ้น ราชกิจจ้า ให้ทุกคนช่วยกันแปลงราชกิจจานุเบกษาเป็น Markdown จะได้เอาไป process ต่อได้
PolicyTracka
ในปัจจุบันการนโยบายหาเสียงจากพรรคการเมืองใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่ขาดซึ่งการรายงานความคืบหน้า ทำให้ประชาชนไม่สามารถติดตามความคืบหน้าในการดำเนินนโยบายนำร่องที่มีการหาเสียง และไม่มีข้อมูลที่เป็นกลางสำหรับการสืบค้น, ในทุกๆ ปี ป้ายโฆษณาและนโยบายหาเสียงเลือกตั้งที่ถูกผลิตออกมา ถูกประชาชนเห็น ได้รับการชื่นชม การติเตียน แต่ก็กลับถูกลืมไปในทุกๆ ปี นโยบายที่ใครทำได้ดี นโยบายที่ใครทำไม่ได้ตามที่สัญญา เหมือนกับว่าทุกอย่างกลับไปเริ่มใหม่ เริ่มต้นตั้งแต่ตอนที่เรา "เพิ่งเริ่มเลือกตั้งครั้งแรก" นโยบายที่ดูนำสมัย อาจจะเป็นแค่นโยบายที่ถูกพูดถึงมาแล้ว 10 ปีแต่ไม่เคยได้ทำ และนโยบายบางอันอาจจะเป็นเรื่องเดิมๆ ที่ถูกเลือกมาแล้วเป็น 10 ปี แต่ก็ไม่เคยได้เปลี่ยนอะไรไปเลย ส่งผลให้พลเมืองอาจตัดสินใจเลือกพรรคเหล่านั้นโดยไม่มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจ เพียงแต่เห็นชอบต่อนโยบาย โดยที่ไม่มีข้อมูลสนับสนุนถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินการ ที่อาจจะเป็นแค่นโยบายที่ถูกเอามาขายในทุกๆ สมัยการเลือกตั้ง และไม่ได้รับการดำเนินการให้สำเร็จอย่างที่ควรจะเป็น
Fill You in the Blank
Fill You in the Blank (Bangkok CSR Matching Project) เป็นโครงการโอเพ่นซอร์สที่มุ่งเชื่อมโยงกิจกรรม CSR กับนโยบายนายกเทศมนตรีของกรุงเทพมหานครและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ
WeSpace
จำนวนต้นไม้ต่อประชากร 1 คน ควรอยู่ที่ 8 ต้นต่อ 1 คน ปัจจุบันไทยอยู่ที่ 3.3 ต้น/คน ขณะที่สิงคโปร์อยู่ราวๆ 40-50 ต้น/คน อาจกล่าวได้ว่าเมืองที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเมืองสีเขียว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประสบความสำเร็จในเรื่องของการปลูกต้นไม้
ไอเดีย green population เกิดจากมุมมองที่เรามอง ต้นไม้ เป็นเหมือน ประชากร หนึ่งคน ทุกต้นมีชื่อ มีหมายเลขและถูกดูแลเหมือนกับชีวิตผู้คนหนึ่งชีวิต
ความท้าทายของไอเดียนี้คือทำอย่างไรให้คนเมืองมาช่วยกัน contribute ภาพถ่ายหรือช่วยกันทำ green mapping และเป็นประเด็นที่มีความจำเป็นเร่งด่วนมากๆ เพราะเกี่ยวข้องกับอากาศที่เราหายใจในปัจจุบัน
ณ ปัจจุบัน กทม.ได้มีโครงการปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น ซึ่งก็อาจจะยังไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับผู้คนใช้พื้นที่ในกทม.ที่มีราวๆ 10 ล้านคน เราอาจหา solution ที่ทำให้เป้าหมายร่วมกับกทมยั่งยืน หรือมีผลลัพธ์มากกว่าที่เขาตั้งไว้ได้
หากเราสามารถสร้างความใกล้ชิดของคนเมืองกับต้นไม้ได้ ในระยะยาวความตระหนักในเรื่องพื้นที่สีเขียวในภาคประชาชนจะมากขึ้น และส่งผลกระทบเชิงนโยบายอย่างยั่งยืนได้ (นักการเมืองก็ต้องตอบรับประชาชน ออกนโยบายที่สอดคล้อง) และเราก็จะมีเมืองที่ยั่งยืน (ใน 10-20 ปี)
Metadata
UPDATED | 12 August 2024 |
HISTORY | GitHub |