Videos → A World without Work
Description
โลกไร้งาน? อนาคตที่ AI อาจเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ ฟังมุมมองเชิงเศรษฐศาสตร์จากอ.เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการ Think Forward Center พรรคก้าวไกล ถึงผลกระทบของ AI ต่อตลาดแรงงานในประเทศไทย พร้อมแนวทางรับมือและการปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต การลงทุนในทักษะ การสร้างงานใหม่ และบทบาทของรัฐบาลในการช่วยเหลือประชาชน รวมถึงการพูดคุยถึงแนวคิด UBI หรือรายได้พื้นฐานถ้วนหน้า และการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน มาร่วมหาคำตอบและเตรียมพร้อมรับมือกับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป
Chapters
- บทนำ: โลกไร้งานกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย 0:00
- AI แย่งงานคนจริงหรือ? มุมมองเชิงเศรษฐศาสตร์ 0:11
- การสูญเสียงานในสังคมไทย: ปัญหาที่ถูกมองข้าม 1:07
- การลงทุนในทักษะและการแข่งขัน: ทางรอดของเศรษฐกิจไทย 2:13
- บทเรียนจากอินโดนีเซีย: การฝึกอบรมแบบ Demand-Driven 3:17
- งบประมาณเพื่อพัฒนาทักษะ: 5 ล้านคน 5 หมื่นล้านบาท 4:54
- การสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน: อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ 5:59
- อุตสาหกรรมใหม่กับความท้าทายของการเปลี่ยนผ่าน 7:12
- อนาคตไร้งาน: ความเป็นไปได้และผลกระทบ 7:57
- การสูญเสียงาน 10 ล้านตำแหน่ง: วิกฤตเศรษฐกิจไทย 9:22
- โลกไร้งาน: ความหดหู่ของมนุษย์ 11:41
- บทบาทของรัฐบาล: การรับมือกับผลกระทบจาก AI 12:34
- เศรษฐกิจสร้างสรรค์และ Demand Mismatch: โอกาสใหม่ๆ 14:37
- UBI (Universal Basic Income): ทางเลือกสำหรับอนาคต? 17:06
- ข้อจำกัดของ UBI และแนวทางการปรับใช้ในไทย 18:50
- เสียงสะท้อนจากประชาชน: UBI ในมุมมองคนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัด 20:11
- ลัทธิบูชางาน: ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างคนกับงาน 21:12
- เรารักงาน แล้วงานรักเรามั้ย? มุมมองใหม่ต่อการทำงาน 22:00
- การทำงาน: โอกาสในการพบปะผู้คนและการเรียนรู้ 24:00
- บทสรุป: Work-Life Balance ในยุค AI 25:09
Transcript
คำบรรยายต่อไปนี้อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด หากคุณพบข้อผิดพลาดใดๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดได้บน GitHub
บทนำ: โลกไร้งานกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย0:00
ค่ะ ก็ตามหัวข้อเลยนะคะ ที่เราจะมาพูดถึง a world without work ค่ะอาจารย์ ครับผม ค่ะ เดี๋ยวเราเข้าสู่คำถามแรกกันเลยละกันค่ะ
AI แย่งงานคนจริงหรือ? มุมมองเชิงเศรษฐศาสตร์0:11
พูดถึงเรื่องของ AI ค่ะ ที่ได้พูดกันมาตั้งแต่ session แรกกันเลยนะคะ AI ถ้าเกิดว่าเข้ามาแย่งงานคนจริงๆ อย่างที่เมื่อก่อน เราอาจจะคิดว่า เป็นแค่ unskilled labor เท่านั้นที่ถูกแย่งงาน แต่ว่าปัจจุบันเนี่ยไม่ใช่แล้ว
ทีนี้ ถ้าเกิดว่า AI มันมาแย่งงานจริงๆ
อาจารย์มองว่า ในมุมมองเชิงเศรษฐศาสตร์ จะมีความช่วยเหลือ หรือว่ารับมือยังไงดีคะ ครับผม ขอบคุณครับ จริงๆ ก็ต้องบอกว่า ในช่วงชีวิตผมเนี่ยนะ ก็ 50 กว่าปีละ ก็ไม่เคยคิดว่าจะมีคำถาม ว่า the world without work เกิดขึ้น หมายความว่า คำตอบยังไม่รู้ว่าจะเป็นยังไง แต่คำถามเนี้ย ย้อนไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ไม่น่าจะมีใครถามคำถามนี้ เพราะงั้นอันนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่ประเด็นที่น้องถามเมื่อสักครู่เนี่ย ก็ชี้อะไรบางอย่างให้เห็น
ในสังคมไทยนะครับ
การสูญเสียงานในสังคมไทย: ปัญหาที่ถูกมองข้าม1:07
จริงๆ แล้วสังคมของเราเนี่ย มันมีการสูญเสียงานไปเนี่ย
ก่อนหน้าที่จะมีการพูดเรื่อง AI เนี่ยไม่น้อยนะครับ แรงงานในภาคเกษตรของไทย ในช่วง 10 ปีเนี่ย หายไป 4 ล้านคน จาก 16 ล้านเหลือ 12 ล้าน เมื่อสักครู่ท่านอาจารย์ก็ได้โชว์ภาพให้เห็นว่า เรามีน้องๆ ที่เป็นกลุ่มที่ควรจะอยู่ในโรงเรียน
ในการฝึกงาน หรืออยู่ในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ปรากฏว่าน้องไม่อยู่ในกลุ่มไหนเลย ที่เรียกว่ากลุ่ม NEET เนี่ย ล้านกว่าคน เพราะงั้นมันเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า การสูญเสียงานเนี่ย มันเกิดขึ้นแล้ว แต่คล้ายๆ กับสังคมไทยเราเนี่ย พอมันเหมือนเป็นสังคมของชนชั้นกลาง เป็นคนกำหนดประเด็น พอเรื่องของเรามันไม่มาถึงชนชั้นกลาง ประเด็นนี้ก็เลยอาจจะไม่ถูกพูดถึงมากนัก คราวนี้มาถึง AI เนี่ย ผมก็คิดว่าคราวนี้มันก็เลยเป็นเรื่องที่ เหมือนกับชนชั้นกลางเราเดือดร้อนจริงๆ แล้วนะครับ ก็เลยทำให้เรามานั่งพูดคุยกันเรื่องนี้
การลงทุนในทักษะและการแข่งขัน: ทางรอดของเศรษฐกิจไทย2:13
จริงๆ แล้ว สิ่งที่เราควรจะทำเนี่ย ก็คือการที่เราต้องลงทุนกับเรื่อง 2 เรื่องด้วยกัน เรื่องแรกก็คือเรื่องของ skill หรือทักษะในการทำงาน อย่างเมื่อสักครู่นี้ อาจารย์ได้พูดถึงไป ใช่เลย เราจะรักษางานไว้ได้ เราก็ต้องให้คนทำงานมีโอกาสปรับตัว เปลี่ยนแปลงรับมือ เหมือนอย่างที่เราฟังคุณไทพูดเมื่อสักครู่ เราต้องได้ลอง แต่คนจำนวนไม่น้อยไม่ได้ลอง ไม่ใช่แค่ไม่มีเงิน 20 เหรียญต่อเดือน แต่อาจจะต้องมีคนช่วยแนะนำด้วยหรือเปล่า
ว่ามันควรลองยังไง มันควรจะมี cost ยังไง อันนี้แหละครับ เป็นสิ่งที่เมื่อสักครู่อาจารย์ ท่านอาจารย์ได้ยกตัวอย่างกรณีของอินโดนีเซีย อันนี้คือตัวอย่างเนาะ จริงๆ ของสิงคโปร์ก็ทำก่อนหน้านั้น แต่อินโดนีเซียเนี่ย เป็นตัวอย่างที่เราพูดถึงมาก เพราะเราไม่นึกว่าจะทำก่อนเรานะครับ แล้วเค้าทำอย่างจริงจังมากเลยนะฮะ อันนี้ก็คือสิ่งที่ผมคิดว่าเราถึงเวลาที่ต้องทำนะครับ
บทเรียนจากอินโดนีเซีย: การฝึกอบรมแบบ Demand-Driven3:17
ในเรื่องนี้ ผมขอขยายความเรื่องอินโดนีเซียนิดนึงนะครับ มันมีบางประเด็นที่ผมคิดว่าสังคมไทย ได้เวลาต้องเขย่าความคิดกันด้วยนะฮะ นั่นก็คือสิ่งที่อาจารย์เล่าให้ฟังเนี่ย ในอินโดนีเซียเนี่ย เค้าทำในลักษณะที่เรียกว่า เปลี่ยนจาก supply side driven ก็คือหมายความว่า เวลาเราจะฝึกอบรมเนี่ย รัฐบาลปัจจุบันเนี่ย ก็มีโครงการฝึกอบรมเยอะแยะ แต่รัฐบาลจะเป็นคน supply side ก็คือจะเป็นคนกำหนด course หาคนอบรม
ดีไม่ดีหาคนมาเข้าอบรมด้วยนะครับ เรียกว่าครบถ้วนหมด คิดว่าตัวเองรู้หมดทุกเรื่อง ตั้งแต่ควรรู้อะไร ใครเป็นคนที่มีความรู้ ไปจนถึงใครควรจะเป็นคนได้รู้ แต่ถามว่าแล้วคนที่อยากรู้แล้วไม่ได้รู้ มีโอกาสมั้ย มีโอกาสตัดสินใจมั้ย คำตอบคือไม่ค่อยมี เพราะงั้นอันนี้คือ การเปลี่ยนจาก supply side เป็น demand side นะครับ demand side ก็คือ เงินเนี่ยจะไปอยู่ หรือสิทธิ์เนี่ยจะไปอยู่กับประชาชนแต่ละคน ที่อยู่ในวัยแรงงานและต้องการปรับเปลี่ยน ซึ่งสิทธิ์นี้มันอยู่กับเรา แล้วเราก็เลือกได้ ว่าเราจะไปหา supply หรือผู้ที่มาฝึกอบรมให้เรา จากตรงไหนนะครับ เราอาจจะแบบ โอ้โห มาเวทีนี้เจ๋งมากเลยเนาะ ต่อไปเนาะ ถ้า Creatorsgarten ทำเรื่องนี้ เราจะรีบมาสมัครเลยอะไรอย่างงี้เป็นต้น แล้วมันก็จะเกิดกลุ่มนะครับ เกิด ecosystem ของคนที่จะฝึกเรื่องนี้
งบประมาณเพื่อพัฒนาทักษะ: 5 ล้านคน 5 หมื่นล้านบาท4:54
ทั้งหมดนี้ถ้าเราคำนวณง่ายๆ ว่า ถ้าเรามีวงเงินซัก 10,000 บาทต่อคนในแต่ละปี ตัวเลขนี้อย่าเพิ่งติดยึดนะครับ ผมแค่โชว์ให้ดูเฉยๆ นะครับ 10,000 บาทต่อคนในแต่ละปี เราก็จะสามารถฝึกอบรมได้ประมาณ 5 ล้านคน
ก็รวมกับ 10,000 ก็คือประมาณ 50,000 ล้านบาท ที่เราจะ train คน 5 ล้านคนนะครับ ไม่ใช่เฉพาะเรื่อง AI แต่ว่าเรื่องอื่นๆ อาจจะเป็นเชฟ อาจจะทำเรื่องศิลปะ อาจจะทำเกม อาจจะหลายๆ อย่าง เราสามารถที่จะ train ได้ 5 ล้านคน ในเวลา 1 ปีนะครับ แต่ว่าแล้วมันก็รวมเงิน 50,000 ล้าน อาจจะเยอะ แต่นั่นก็คือประมาณ 10% ของที่เรากำลังจะใช้ใน digital wallet นะครับ ซึ่งอันนี้ก็คือสิ่งที่... เราจำเป็นจะต้องขบคิดกันนะครับ แต่ว่าผมเองก็ไม่อยากให้เรานึกถึง เฉพาะเรื่องที่ว่าเรามีพูดเรื่องสกิลอย่างเดียวนะครับ
การสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน: อีกหนึ่งปัญหาใหญ่5:59
จริงๆ แล้วการสูญเสียงานในกรณีของประเทศไทยเนี่ย ที่สูญเสียเยอะที่สุดเนี่ย มาจากการสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน คือมันเกิดขึ้นพร้อมกัน คือเราพอเราไม่ได้ลงทุนในคนงาน แล้วเราก็สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน เราก็จ้างงานน้อยลงนะครับ อย่างที่อาจารย์ได้พูดถึงเลยนะครับ
ทำไมการจ้างงานของคนที่เป็น high skill labor ของไทยเพิ่มขึ้นน้อย เราลองไปดูสิครับ สัดส่วนการส่งออกของประเทศไทยของเราอะ มันเพิ่มสัดส่วนที่เป็น high tech เนี่ยน้อยมากนะครับ เรายังส่งออกสินค้าแบบเดิมๆ นะครับ อยู่นะครับ ถ้าเราไปดูตลาดหุ้นไทย ตลาดหุ้นไทยก็ยังเป็นพวก ปตท. นะครับ โรงไฟฟ้าอะไรทั้งหลายแหล่ ไอ้ที่จะเป็น tech แบบที่ในต่างประเทศเค้าเป็นกันเนี่ย มันน้อยมากนะครับ เพราะฉะนั้น นอกจากการที่เราจะต้องรักษาตัวงานเนี่ย เราก็ต้องรักษาทักษะนะครับ เพิ่มพูนทักษะให้กับคนงาน เราก็ต้องเพิ่มความสามารถในการแข่งขันไปพร้อมกัน ซึ่งความสามารถในการแข่งขันเนี่ย ปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งก็คือ เราไม่ค่อยลงทุนในภาคอุตสาหกรรมใหม่ๆ นะครับ
อุตสาหกรรมใหม่กับความท้าทายของการเปลี่ยนผ่าน7:12
ตอนนี้ ในแง่ของภาคอุตสาหกรรม อาจจะไม่เกี่ยวกับ AI โดยตรง แต่ว่าก็จะเป็นภาพที่ชัดเจนว่า เรากำลังสูญเสียอุตสาหกรรมที่ทำรถยนต์ แบบสันดาปนะครับ ให้กับรถยนต์ไฟฟ้า แน่นอนถ้าผมซื้อรถคันใหม่ ผมก็คงซื้อรถไฟฟ้า แต่คำถามคือ แล้วอุตสาหกรรมเครื่องยนต์สันดาป ที่อยู่กับบ้านเรามา 30 ปี อะไรคือสิ่งที่มันจะเป็นการเปลี่ยนผ่าน เพราะงั้น มันต้องทำคู่กัน ทั้งการรักษาตัวทักษะของงาน ในขณะเดียวกัน ก็ต้องรักษาตัวความสามารถ หรือเพิ่มพูนความสามารถในการแข่งขันไปพร้อมกันด้วยครับ นี่ก็คือเป็นประเด็นทางเศรษฐศาสตร์แบบจัดเต็ม ทั้ง supply demand แล้วก็อาจจะเป็นมุมที่คนไม่ได้มองถึง ถึงเรื่องของการแข่งขันด้วยนะคะ
อนาคตไร้งาน: ความเป็นไปได้และผลกระทบ7:57
ค่ะ แล้วก็สำหรับต่อไปค่ะ ทีนี้เราพูดถึงมาแล้วว่า เรื่องงาน เรื่องคน เรื่องทักษะแบบนี้ ถ้าเกิดว่าวันนึงค่ะ มันไม่มีงานเลยเนี่ย คิดว่าจะเป็นไปในแนวทางไหนคะ
ครับ ก็ถ้าฟังจากที่อาจารย์ช่วยแจกแจงให้เราฟังนะครับ ก็คิดว่ามันคงไม่ได้ถึงจุดที่ไม่มีงานเลยนะครับ
เพราะว่ามันมีบางสิ่งบางอย่างที่มันเริ่มต้นมาจาก การที่เราไม่ได้คิดเลยว่ามันเป็นงาน หลายๆ เรื่อง คนในยุคผมเนี่ย มองไม่ออกเลยว่า เกมมันจะเป็นงานได้ยังไงนะครับ แต่ปัจจุบันมันก็มีเกมที่กลายเป็นงานนะฮะ ใช่ค่ะ เราสร้างรายได้ได้สูงด้วย เพราะฉะนั้นความสามารถของมนุษย์เนี่ย ในการที่จะสร้างงานใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ เนี่ย เป็นสิ่งที่คงจะไม่มีอะไรหยุดยั้งได้นะฮะ แล้วก็ในขณะเดียวกันเนี่ย มันก็มีอีกหลายงาน อย่างเช่น เมื่อสักครู่เรื่องการดูแลผู้สูงอายุ การดูแลเด็ก ก็ยังเป็นงานที่ยังจำเป็น ต้องใช้มนุษย์ หรือคือเราอาจจะจ้างหุ่นยนต์ก็ได้ แต่ถ้าเรามีเงินเท่ากับ หมายถึงว่าถ้าค่าจ้างเท่ากัน แล้วมนุษย์ไว้ใจได้ เราก็อยากจะสร้างมนุษย์มากกว่า เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะถึงจุดที่ ขนาด without work
การสูญเสียงาน 10 ล้านตำแหน่ง: วิกฤตเศรษฐกิจไทย9:22
แต่ประเด็นสำคัญที่ผมอยากจะพูดคือ จริงๆ มันไม่ต้อง without work ครับ work หรือ job เนี่ย มันหายไปสักจำนวนหนึ่ง ประเทศของเราโดยภาพรวมก็จะปั่นป่วนแย่แล้วนะครับ
เพียงแต่เราไม่เคยไปคำนวณว่ามันหายไปสักเท่าไหร่ มันจะไม่ไหวแล้วนะฮะ มันเหมือนกับเวลาเราพูดสมัยรุ่นผมนะ เราจะพูดคำว่าน้ำมันจะหมดโลกเมื่อไหร่ ในความเป็นจริงคือน้ำมันไม่ต้องหมดโลกหรอก มันหายไปสักส่วนหนึ่งเนี่ย เศรษฐกิจของเราก็แย่แล้ว มันเหมือนกับตอนนี้เราก็รู้สึกว่าราคามันแพงเกินไปแล้ว เพราะงั้น world without work เนี่ย ถ้าเราพูดตีขอบมาประเทศไทยเนี่ย ผมคิดว่า เมื่อกี้พูดเรื่องแรงงานเกษตรหายไป 4 ล้านคนใน 10 ปีใช่ไหมครับ และเรายังจะมีผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือ เกษตรกรด้วยนะครับ จะเข้ามาสู่การเป็นผู้สูงอายุ ในช่วง 10 ปีข้างหน้าเนี่ย ประมาณ 7-8 ล้านคน เพราะงั้นงานของเรา- แล้วก็ยังกลุ่ม NEETs ที่เราพูดเมื่อกี้ ล้าน 3 แสนคน เพราะงั้นในภาพรวมของประเทศไทยเนี่ย เราน่าจะสูญเสียงานเนี่ยนะครับ รวมๆ กันเนี่ยนะฮะ เกือบประมาณสัก 10 ล้านคน เป็นอย่างน้อย ถามว่าพอสูญเสียงานไปเยอะๆ เนี่ย สิ่งที่มันเกิดขึ้นคืออะไร ถ้าเราพูดแบบง่ายสุดก็คือ demand น่ะ ที่จะมาใช้จ่ายในประเทศเนี่ย ก็จะเริ่มถดถอยลงนะครับ ถ้าเราไปต่างจังหวัด ในพื้นที่
ที่ไม่ได้มีงานภาคอุตสาหกรรมมากนัก ไม่ได้มีงานภาคบริการมากนัก แล้วไปในช่วงเวลาที่ไม่ใช่ช่วงเวลาที่ผลผลิตออก เราจะเข้าใจภาพความรู้สึกนี้ มันเหมือนไม่มีคนมาซื้อของอะไรครับ เพราะว่ามันไม่มีเงินอะไรนะ เพราะงั้นผมคิดว่าตรงนี้คือเรื่องใหญ่ ไม่จำเป็นต้องรอจนถึงจุดที่เราไม่มีใครมีงานทำแล้ว
ผมคิดว่าประมาณซัก 10 ล้านคน ที่เรากำลังจะสูญเสียไปในช่วง 10 ปีนี้ คือปัญหาใหญ่มากๆ เลย แล้วผมคิดว่าเราต้อง fight นะ อย่างน้อยต้องรักษาไว้ให้ได้ 5 ล้านงานนะครับ ในช่วง 10 ปีนี้ นี่คือจุดที่เราควรจำเป็นจะต้องชี้ขาดนะ แต่เพื่อให้มันไกลออกไปหน่อยว่า
โลกไร้งาน: ความหดหู่ของมนุษย์11:41
แล้วถ้าไปถึงจุดนั้นจริงๆ ผมคิดว่าโลกก็น่าจะหดหู่ไม่น้อยนะครับ เพราะการทำงานไม่ได้หมายถึง จริงๆ การทำงานมันมีหลายแบบนะ งานทำเพราะว่าทนทำก็มีนะครับ ทำเพราะว่ารักก็มีนะครับ ทำเพราะว่าอยากจะมีความสัมพันธ์ที่ดีในสังคมก็มีนะครับ เพราะฉะนั้นผมคิดว่า มันถ้ามันไปถึงจุดนั้นจริง คงเป็นผลลบมากกว่า มนุษย์ที่ไม่ได้ทำงานเนี่ย แต่เดี๋ยวจะมีคำถามว่า มนุษย์บ้างานหรือเปล่านะ แต่เอาเป็นว่า มนุษย์ที่ไม่สามารถทำงานได้ จะเป็นมนุษย์ที่ ค่อนข้างโหวงเหวงนะฮะ แน่นอน มนุษย์ที่ทำงาน มากเกินไป ก็มีปัญหาแบบหนึ่งนะ แต่ว่าเดี๋ยวเรา ค่อยพูดกันประเด็นนั้น แต่มนุษย์ที่อยากทำ แต่ไม่สามารถทำได้ ผมว่าอันนี้จะเป็นปัญหาครับผม
บทบาทของรัฐบาล: การรับมือกับผลกระทบจาก AI12:34
ค่ะ แล้วก็ในส่วนที่ อย่างในมุมมองแพงก็อาจจะมองว่า AI ก็อาจจะเข้ามาช่วยในหลายๆ อาชีพนะคะ ไม่ได้เข้ามาแย่ง แต่ถ้าสำหรับบางคนที่เขารู้สึกว่า AI เข้ามาแทนที่เขาจริงๆ เนี่ย ในส่วนของรัฐบาล มีวิธีในการรับมือหรือว่าช่วยแก้ปัญหาคนเหล่านั้น ยังไงคะ ครับผม คำตอบแรกก็อย่างที่พูดถึงไปนะครับ ถ้าคิดว่ามีความเสี่ยงเมื่อไหร่ ก็ตามเนี่ยนะครับ เราจำเป็นต้องลองคุยกับเขา ซึ่งการคุยกับเขาเนี่ย มันก็มี 3 ทางเลือกหลักๆ แหละ ทางเลือกแรกก็คือ นำ AI มาใช้ได้ไหม เมื่อสักครู่ผมฟังคุณไทนี่ ผมยังได้ไอเดียว่า มันอาจจะเอามาใช้ได้มากทีเดียว
นะครับ อันนี้ข้อที่ 1 นะฮะ ข้อที่ 2 ก็คือว่า แล้วถ้ามันไม่ใช่เป็นงานนี้อ่ะ ไปทำงานอื่นได้ไหม นะครับ ซึ่งมันอาจจะไม่ได้เป็นงานที่ใหม่ซะทีเดียว แต่ว่ามันเป็นงานที่จริงๆ เราก็เคยคุ้นเคยอยู่นะฮะ แต่ว่าเราอาจจะไม่ได้ทำมันในฐานะอาชีพ จริงๆ แล้วเราอาจจะมีความสุขมากกว่าก็ได้ ที่ทำงานนั้น แต่ว่าที่ผ่านมาเราทำอาชีพนี้ เพราะเค้าต้องการคนทำ task แบบนี้นะครับ คือเราก็ไม่ได้มีความสุขกับ job แบบนี้นะครับ แต่เค้าจ้างเราอยู่เพราะว่าเราทำ task แบบนี้ ให้เค้าได้นะครับ เพราะงั้นไอ้ตรงนี้ มันก็อาจจะลงตัวกันก็ได้นะครับ สุดท้ายก็คือ การที่เราอาจจะมีบางคน ที่อยากจะคิดโจทย์งานใหม่ๆ เป็นงานที่เรียกว่า เป็นงานสร้างสรรค์ไปเลย มันไม่ใช่งานเดิม หรืองานใหม่ที่เราเคยทำ แต่มันเป็นงานใหม่ไปเลย ที่เราอาจจะไม่เคยมีการคิดทำกันก็ได้นะครับ ซึ่งไอ้ส่วนที่ 3 เนี่ย ก็ต้องเป็นส่วนที่รัฐบาล เข้ามาช่วยเสริมเหมือนกันนะครับ นั่นก็คืองานที่เราอาจจะรู้จักกันในชื่อ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ แต่ว่าเราอาจจะยังไม่ได้ มีกลไกในการที่จะเข้ามาช่วยทำให้ไอ้งาน 3 ส่วนนี้ เกิดขึ้นมาอย่างจริงจังนะครับ ในขณะเดียวกันมันมีงานส่วนที่ 4 ด้วย
เศรษฐกิจสร้างสรรค์และ Demand Mismatch: โอกาสใหม่ๆ14:37
ที่เราจำเป็นจะต้องช่วยทำให้มันเกิดขึ้น ก็คืองานที่มี demand คือเดี๋ยวอธิบาย แบบเศรษฐศาสตร์นิดนึงก่อน เวลาเราพูด เศรษฐศาสตร์เนี่ย เราพูดว่า demand เนี่ย ไม่ได้หมายความว่าแค่ต้องการ แต่เราต้องการและมีกำลังซื้อนะครับ
เพราะงั้นจริงๆ มันมีงานอยู่จำนวนไม่น้อย ในสังคมไทยที่มีความต้องการ
แต่คนไม่มีกำลังซื้อ ไอ้ตรงนี้แหละครับ มันเป็นโจทย์ว่ารัฐบาลเนี่ย จะมาช่วยทำให้เกิดกำลังซื้อ เพื่อทำให้เกิดงานแบบนี้ได้หรือไม่ ยกตัวอย่างนะครับ long-term care คือการดูแลผู้สูงอายุ หรือการดูแลเด็กเล็ก มีคุณพ่อคุณแม่จำนวนมากเลยที่
ตัดสินใจว่าสงสัยมีลูกยากมาก เพราะว่าไอ้ช่วงเวลา ตั้งแต่หมดลาคลอด 3 เดือนน่ะ ไปจนถึงเข้าโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็กได้ 3 ปีอ่ะ เคยเสิร์ชไหมครับ ค่าจ้าง เนิร์สเซอรี่เท่าไหร่นะครับ โอ้โห มันแพงมากเลยอ่ะ เพราะงั้นจริงๆ ยังมีคนที่อาจจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ แต่ว่าก็ต้องส่งไปให้ตายายเลี้ยงหลาน หรือตัดสินใจ ไม่เป็นคุณพ่อคุณแม่เลย เพราะว่าไอ้ช่วงนั้นไม่รู้จะ ฝ่าข้ามไปได้ยังไงนะครับ ค่าจ้างบางทีมันเรียกว่า เท่ากับค่าจ้างของคุณแม่ด้วยซ้ำนะครับ แล้วเราจะ ไปรอดได้ยังไง เพราะงั้นไอ้ตรงนี้คือตัวอย่าง หรือเราพบว่าตอนนี้ หลังอายุ 45 ปี มีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยต้องลาออก
จากงาน เพื่อมาดูแลคุณพ่อคุณแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง นะฮะ อันนี้ก็คือตัวอย่างที่ว่าจริงๆ คนเหล่านี้ก็ยังควรจะ ทำงานอยู่ แล้วก็ควรจะมีคนอีกคนนึง อีกกลุ่มนึง มาทำงานในการดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยใช่ไหมครับ แต่เพราะเราไม่มีตรงนี้ ไม่เชิง skill mismatch แต่ว่าเรียกว่า demand mismatch นะ เรามี need ในแง่ความจำเป็น แต่เราไม่มีเงินในแง่ demand เพราะงั้นรัฐบาลจะเข้า มาเสริมตรงนี้ได้ไหม นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่ามันควรจะ เป็น priority นะฮะ เขาบอกว่า ของเศรษฐกิจเนาะ ไม่ใช่พายุหมุนเนาะ แต่ว่ามันเป็นความพร้อมในการที่เราจะมีงานใหม่ๆ
แล้วก็มีงานที่ยังรักษาเอาไว้ได้ ครับผม ค่ะ แล้วก็ก่อนที่จะมาได้พูดคุยกับอาจารย์นะคะ
UBI (Universal Basic Income): ทางเลือกสำหรับอนาคต?17:06
แพงได้มีการลองเสิร์ชหาที่อาจารย์เคยบรรยาย เรื่องของ UBI ค่ะ universal basic income ก็เลย อยากจะถามอาจารย์ให้ขยายความของคำคำนี้ แล้วก็ความเห็นของอาจารย์ว่าสามารถตอบโจทย์ กับปัญหานี้ยังไงค่ะ อ๋อ ครับผม อันนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่ที่มีคนคุยกันนะครับ อธิบาย UBI ก่อนนะครับ UBI ก็คือให้เงินไปเลยนะฮะ
กับทุกคนเลยนะฮะ universal ก็คือถ้วนหน้าเลยนะครับ แต่ว่าเป็นเงินรายได้พื้นฐาน เพื่อให้เขาสามารถ ดำรงชีวิตอยู่รอดได้นะครับ ครับ อันนี้ก็คือความเชื่อนะฮะ ว่าน่าจะดีไหม คราวนี้มันก็มีความกลัวนะฮะ มีบางคนกลัวว่า ถ้าได้เงินอันนี้ไปนะครับ ก็ไม่ทำงานเลย คราวนี้สบายเลยนะครับ ก็ผลเขามีคนทดลอง แต่ว่าอยู่ในระดับ เรียกว่าเป็นชุมชนขนาดใหญ่ละกัน เป็นเมืองเล็กๆ อย่างเงี้ยนะครับ ในหลายประเทศนะฮะ ผลลัพธ์ว่ามันไม่ได้เป็นอย่างงั้นนะ ไอ้การที่คนมีรายได้เป็นประจำมากพอสมควร
ไม่ได้รวยนะฮะ มากพอสมควรที่เขาจะมีชีวิตอยู่รอดได้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือเขาวางแผนชีวิตได้ วางแผนชีวิตได้หมายความว่า เขารู้ว่าแต่ละเดือนเนี่ย ที่เขาได้มาเนี่ย เขาใช้ชีวิตยังไง ทำให้ชีวิตเขาดีขึ้นนะฮะ มีการพบว่ามีการเลี้ยงปศุสัตว์มากขึ้นในภาคชนบทนะครับ มีการปรับปรุงบ้านเรือนดีขึ้นนะครับ เพราะฉะนั้นไอ้ความเชื่อที่ว่าให้เงินไปแล้วคนจะขี้เกียจเนี่ย ในการทดสอบเนี่ย พบว่ามันไม่ได้เป็นอย่างนั้นนะครับ
ข้อจำกัดของ UBI และแนวทางการปรับใช้ในไทย18:50
แต่ว่าไอ้ UBI เนี่ย มันก็เจอข้อจำกัดแน่นอน 2 เรื่องนะครับ สมมุติเราจะทำ UBI ทั้งประเทศไทยจริงๆ เนี่ย ก็น่าจะใช้เงินประมาณสัก 2.5 ล้านล้านบาทนะครับ ในขณะที่งบประมาณของประเทศไทยเราอยู่ที่ประมาณ 3.7 ล้านล้านบาทนะครับ เพราะงั้นก็เรียกว่าก้อนใหญ่มากนะครับ มันก็เลยกลับมาเป็นโจทย์ว่า แล้วถ้าอย่างงั้นเนี่ย เราทำอะไรกันดีนะครับ ก็ที่จะเริ่มต้นไปสู่ทางนี้นะครับ
อันนึงก็คือ ที่เมื่อกี้ยกตัวอย่างพูดไปถึงว่า ผู้สูงอายุกับเด็กไหม อย่างน้อยให้ผู้สูงอายุกับเด็กเนี่ย สามารถที่จะได้เงินรายได้ และคนที่เป็นคนวัยทำงานน่ะ เป็นเดอะแบกขนาดเนี้ย เป็นผู้ต้องหารายได้มาเลี้ยงลูก หารายได้มาดูแลคุณพ่อคุณแม่เนี่ย จะได้เบาลงหน่อยนะฮะ ก็คือให้เงินที่เด็กเล็กนะฮะ
ปัจจุบันนี้ ได้ไม่ถ้วนหน้า ให้เป็นถ้วนหน้าได้ไหม ผู้สูงอายุ 600 บาท มาหลายปีแล้ว กระเถิบขึ้นมาเป็น 1,000 บาท เป็น 1,500 บาท ไปเป็นลำดับ 2,000 บาท จนถึง 3,000 บาท เป็นลำดับขั้นได้ไหม อันนี้ก็คือสิ่งที่ตั้งคำถามว่า ทำแบบนี้จะช่วยคนวัยทำงาน อย่างน้อยส่วนหนึ่งได้ไหมนะครับ
เสียงสะท้อนจากประชาชน: UBI ในมุมมองคนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัด20:11
ซึ่งเรื่องนี้น่าสนใจมากเลย เพราะว่าเมื่อสักครู่มีคนทักผมว่า เจอผมในงาน policy Big Bang ของก้าวไกล
policy festival ผลปรากฏว่า เราไปถามประชาชนนะครับ คนในกรุงเทพฯ บอกว่า ไม่ค่อยช่วยเท่าไหร่หรอก เอามาสัก 1,500 ก็พอแล้ว ไม่อยากให้เยอะเกินไป จะเป็นภาระรัฐบาล ส่วนที่อุดรธานี ต่างจังหวัดนะครับ ประชาชนบอกว่า อันนี้คือนโยบายดีที่สุด อย่า 1,500 มาเลยทีเดียว 3,000 ถามว่าทำไมเป็นแบบนี้ เขาบอกว่า ถ้าคุณพ่อคุณแม่มีเงินก้อนนี้นะ จบ เขาสบายใจ ลุยต่อ ไม่ต้องกังวลว่าชีวิตคุณพ่อคุณแม่จะอยู่ยังไง อันนี้ไม่มีใครถูกใครผิดนะครับ ผมแค่อยากจะเล่าให้ฟังว่า คนกรุงเทพฯ กับคนอุดรธานี ที่เราทดสอบในงาน Big Bang เนี่ย คิดต่างกันมากทีเดียวครับ แล้วก็เดี๋ยวเราจะเข้าสู่คำถามสุดท้าย
ลัทธิบูชางาน: ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างคนกับงาน21:12
ก่อนที่จะไป session Q&A กันนะคะ อย่างที่อาจารย์ได้เกริ่นมาก่อนหน้า เรื่องที่จะพูดถึงเรื่องงาน ก็คือเราอาจจะได้ยินคำว่า ลัทธิบูชางาน ก็คืออาจจะเป็นคนที่ทุ่มเทให้กับงาน จนไม่ได้จัดสรรเวลาเรื่องของ ความสัมพันธ์ในครอบครัว หรือว่าเรื่องอื่นๆ อย่างเงี้ยค่ะ อาจารย์คิดว่า คำคำนี้ จำกัดความมันยังไง
หรือว่ามีปัญหามั้ยคะกับสิ่งนี้ ครับ ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องจริงนะครับ แล้วก็เราก็ได้เห็นคนที่มีลักษณะบูชางาน ค่อนข้างเยอะนะครับ แต่ผมอยากจะฝากทุกๆ คนไว้นะ เวลามันไม่เยอะ ก็อาจจะพูดสั้นๆ ว่า ผมไปเจอหนังสือเล่มนึงนะครับ ลูกสาวส่งมาให้ ทราบว่าจะมาพูดวันนี้ ลูกสาวส่งมาให้บอกว่า ให้ลองอ่านบทนี้ดูสิ นะครับ
เรารักงาน แล้วงานรักเรามั้ย? มุมมองใหม่ต่อการทำงาน22:00
“เรารักงาน แล้วงานรักเรามั้ย?”
ครับ แล้วไม่ทราบพวกเราเคยได้ย้อนคิดกลับไปมั้ยครับ งานรักเรา แล้วเรารักงานมั้ย นะครับ อันนี้คือลักษณะของความสัมพันธ์ ที่ผมคิดว่า ทำยังไงให้เรากับงาน มันไม่ได้เหมือนกับเป็นการรักฝ่ายเดียว ซึ่งการรักฝ่ายเดียวเนี่ย มันไม่ได้เป็นว่าอีกฝ่ายใจจืดใจดำซะทีเดียว ถ้าพูดแบบเศรษฐศาสตร์ บางครั้งเค้าก็สนใจเราบ้าง แต่เราสนใจเค้ามากเกินไป มากเกินกว่าที่เค้าสนใจเรา งานเค้าก็อาจจะสนใจเราแหละ แต่ว่าถ้าเราทุ่มเกินไป เราเอาชีวิตทุกอย่าง เอาความหมายทุกอย่าง ในชีวิตของเราไปใส่ไว้กับงาน
เป็นเหมือนกับเครื่องพิสูจน์เราไปซะทุกอย่าง ผมคิดว่าแบบนั้นมันก็จะถึงจุดวันนึง ที่เรามาพบว่า สมมุตินะ เราป่วย แล้วเราก็พบว่าเรานอนอยู่บ้าน เราไม่ได้ไปทำงาน งานก็ยังเดินต่อไป
ไม่ได้เหมือนกับมีอะไรที่จะมาคุยกับเรา มาชวนเรา มาบอกเราว่า เรายังอยากทำงานอยู่หรือเปล่า แม้ว่าเราจะเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่สะดวกเหมือนเดิม แต่เพราะงานรักเราด้วย อยากให้เราได้มีส่วนร่วมต่อไป อย่างไร เค้าคงไม่ได้คิดแบบนั้น เพราะงั้นมันก็เลยจำเป็นที่ผมคิดว่า เราจะจำเป็นจะต้องวางคำว่างานไว้ให้ถูกเหมือนกัน ผมเสนอ 2 ทางนะครับ ทางแรกก็คือ งานมันก็เปรียบเสมือนกับ การที่เราได้มีโอกาสพบปะกับผู้คน
ชีวิตมนุษย์เนี่ย ถ้าไม่ได้พบปะกับผู้คน แบบที่บางครั้งเราก็ไม่ได้ผูกพันอะไรกัน แต่ว่ามาเจอกัน วันนี้ถ้าผมพูดคนเดียวก็ได้ใช่มั้ยครับ แต่ว่ามันไม่สนุกเหมือนกับที่เราได้มีโอกาส มาเจอกันแบบนี้นะครับ เพราะงั้นนี่ก็คือ
การทำงาน: โอกาสในการพบปะผู้คนและการเรียนรู้24:00
ประเด็นแรกที่อยากจะให้มองว่า นอกเหนือจากความตั้งใจในการทำงาน ซึ่งดีอยู่แล้วนะครับ ก็อยากให้มองว่า เออมันก็คือการที่เราได้มีโอกาสสัมพันธ์ อันที่ 2 ก็คือมันคือการเรียนรู้ครับ การทำงานเนี่ย สุดท้ายแล้วสำหรับผม ผมชอบมากคือ ผมได้เรียนรู้ทำอะไรใหม่ๆ
เยอะเลยนะครับ แล้วมันก็ ถ้าเรายังสนุกอยู่ เราก็เรียนรู้นะ ถ้าเราไม่สนุก เราก็อาจจะจำเป็นต้องหาเส้นทาง การเรียนรู้ใหม่ๆ นะครับ สมัยตอนที่ผมมาทำงานที่พรรคก้าวไกลใหม่ๆ แล้วก็มาจากอาจารย์ใช่ไหมครับ เพราะงั้นทุกอย่างจะต้องเริ่มต้นที่ PowerPoint แต่ว่าเวลาเราไปพูดบ้านชาวบ้าน มันเป็นเรื่องลำบากมากถ้าเราจะต้องเอา เครื่องฉาย PowerPoint ไปด้วยนะครับ ก็ใช้เวลาอยู่พักใหญ่ครับ ที่เราจะต้องเปลี่ยนการพูดของเรา เป็นไม่ใช้ PowerPoint อย่างนี้เป็นต้นครับ
เพราะงั้นมันก็เป็นกระบวนการเรียนรู้ครับ ก็อยากให้มองการทำงานเป็น 2 อย่าง แล้วความรักระหว่างเรากับงานจะสมดุลกัน เราจะไม่ใช่เป็นผู้รักงานฝ่ายเดียวอีกต่อไป งานก็น่าจะตอบโจทย์ชีวิตเราด้วย ไปพร้อมๆ กันครับ
บทสรุป: Work-Life Balance ในยุค AI25:09
ใช่ค่ะ ถ้าเป็นคนยุคนี้ก็น่าจะให้ความสำคัญ กับ work-life balance มากขึ้นด้วยค่ะ แล้วก็ตอนนี้นะคะ ก็จะเป็นการเปิดโอกาส ให้กับทุกคนในห้องนี้นะคะ ได้ถามคำถามกับอาจารย์แล้วค่ะ ขอเชิญเลยค่ะ อยากจะได้สัก 2-3 คำถามก็ได้ค่ะ