Videos → 3 Stories about Changes
Description
ในหัวข้อนี้ คุณปั๊บนำเสนอมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยีและ AI ต่อสังคมและเศรษฐกิจเริ่มด้วยการพูดถึงความยากในการคาดการณ์อนาคต โดยยกตัวอย่างคำทำนายที่ผิดพลาดเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและ Bitcoin คุณปั๊บนำเสนอเรื่องราว 3 เรื่องที่สะท้อนมุมมองต่างๆ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ได้แก่ กลุ่ม Luddite ภาพยนตร์เรื่อง Terminator และการ์ตูนเว็บตูน Clinic of Horrors และตั้งคำถามที่น่าคิดเกี่ยวกับอนาคตของงานและคุณค่าของมนุษย์ในยุค AI วิดีโอนี้จะทำให้คุณได้มุมมองใหม่ๆ ในการมองโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
Chapters
- บทนำและการทักทาย 0:00
- คำทำนายที่ผิดพลาดเกี่ยวกับเทคโนโลยี 0:07
- บทเรียนจากคำทำนาย: อย่าเชื่อทั้งหมด 0:58
- ความยากลำบากในการทำนายอนาคต 1:15
- เรื่องเล่า 3 เรื่อง: Luddites, Terminator และ ต้นไม้แห่งเงิน 2:00
- บทบาทของ Luddites และความกลัวต่อเทคโนโลยี 2:56
- Terminator: ภาพสะท้อนของความกลัว AI 3:14
- ต้นไม้แห่งเงิน: คุณค่าของมนุษย์ในโลกที่ AI ครอง 3:45
- การวิเคราะห์ 3 เรื่องเล่า 4:22
- งานในศตวรรษที่ 21 เปรียบเสมือนศาสนา 5:45
- การตัดสินคุณค่าของมนุษย์ในอนาคต 6:50
- คำถามสำคัญ: AI แย่งงานมนุษย์ หมายความว่าอย่างไร? 7:17
- ผลกระทบของ AI ต่อสังคมและเศรษฐกิจ 7:47
- สรุปและบทส่งท้าย 8:09
Transcript
คำบรรยายต่อไปนี้อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด หากคุณพบข้อผิดพลาดใดๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดได้บน GitHub
บทนำและการทักทาย0:00
โอเคครับ ก็สวัสดีครับชื่อปั๊บนะครับ นี่ชื่อภูมิ ก็เป็นคนที่โดนลากมาพูดเปิดงานนะครับ
คำทำนายที่ผิดพลาดเกี่ยวกับเทคโนโลยี0:07
อยากเริ่มเปิดงานด้วยโควทนี้ครับ พอล ครักแมน ผมไม่รู้ผมอ่านชื่อเค้าถูกมั้ยนะครับ เป็นคนได้รางวัลโนเบลสาขา economics เมื่อหลายสิบปีที่แล้ว เค้าเคยพูดไว้ในปี 1998 ว่า “ในปี 2005 เนี่ย เราจะได้รู้ว่า impact “ผลกระทบของอินเทอร์เน็ต มันไม่ได้เยอะไปกว่า fax machine หรอก” fax machine ก็คือเครื่องสแกนแฟกซ์ครับ ซึ่งแน่นอนครับว่า มันเป็น prediction ที่ค่อนข้างผิดนะครับ ในมุมมองหลายๆ คน (พ ูดซอฟต์มากเลย “ค่อนข้างผิด”) ทีนี้ครับ อีก 10 ปีถัดมา ก็มีนักลงทุนคนนึงครับชื่อโรเจอร์ เวอร์ เค้าพูดว่า “Bitcoin จะกลายเป็น innovation ที่สำคัญที่สุดนับจากอินเทอร์เน็ตนะครับ” ซึ่งก็ไม่ได้สำคัญไปกว่า fax machine เท่าไหร่ อันนี้ก็ดูเหมือนจะผิดเหมือนกันนะครับ
บทเรียนจากคำทำนาย: อย่าเชื่อทั้งหมด0:58
เพราะฉะนั้นบทเรียนจากเรื่องนี้ครับ ก็คือ คนด้านซ้ายเนี่ยเค้าเป็นคนได้รางวัลโนเบล สาขา economics คนด้านขวา เป็นนักลงทุนที่น่าจะรวยมากๆ ครับ
- บทเรียนก็คืออย่าไปเชื่อเค้า - อ้าวแล้วเชื่อใครอ่ะ ไม่ใช่ครับ บทเรียนจริงๆ เนี่ยก็คือ การที่เรา predict ของบางอย่างเนี่ยมัน
ความ ยากลำบากในการทำนายอนาคต1:15
จริงๆ มันยากกว่าที่มันคิด เพราะว่าสิ่งที่เราเห็นนะครับ กับสิ่งที่โลกมันเป็น มันไม่ได้เชื่อมโยงกันขนาดนั้นนะครับ มันมีงานเขียนหลายงานที่แบบ แค่การพยายามทำความเข้าใจว่าโลกนี้มันเป็นยังไงมันก็ยากแล้ว อย่างเช่นแบบงานของ อัลเฟรด มิล ที่ตั้งคำถามว่า จริงๆแล้วสิ่งแวดล้อมมันใหญ่มากๆ ครับ ระบบ infrastructure ของโลกมนุษย์มันใหญ่มากๆ จนกระทั่งแบบเรา แทบจะ make sense กับมันไม่ได้ด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น prediction จากการที่คนเป็นมนุษย์ 1 คนที่พยายามไป predict a whole system อะครับ มันยากมาก ซึ่งพูดแบบนี้ครับมันก็ดูน่าสิ้นหวังเนาะ แต่ว่าเราจะ tackle กับมันยังไงครับ
เรื่องเล่า 3 เรื่อง: Luddites, Terminator และ ต้นไม้แห่งเงิน2:00
ก็เรามีเรื่องเล่าอยากเล่า 3 เรื่องก่อนที่จะเริ่ม เรื่องแรกครับเป็นเรื่องเกี่ยวกับ กลุ่มคนที่เรียกว่า luddite เป็น movement เมื่อประมาณ 200 ปีที่แล้วในประเทศอังกฤษครับ ที่ช่วงที่เครื่องทอผ้ามันมาแรกๆ เนี่ยครับ ก็มีเหมือนเป็นคนนึงที่ไม่พอใจการเกิดขึ้น เค้าบอกว่า เฮ้ย งานทอผ้าต้องเป็นงานฝีมือดิวะ แล้วถ้ามันมีเครื่องแบบนี้ เราก็จะตกงานกันหมดครับ เค้าก็เลยเหมือนรวมแก๊ง อาจจะเป็นเพื่อนของเค้า หรือว่าคนที่เห็นตรงกันน่ะครับ ไปเค้าเรียกว่าอะไร ตีเครื่องทอผ้า ตีเครื่องทอผ้าให้มันพัง ทำลายครับ คำว่า luddite ที่เป็นเหมือน ถ้าพูดจริงๆ
มันก็เหมือนเป็นสาวกของ เน็ต ลัด ที่เป็นคนเริ่ม revolution นี้ มันก็เลยกลายเป็นคำที่ถูกนำมา ใช้เวลาเราพูดถึงคนที่กลัว การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ในปัจจุบันจนถึงทุกวันนี้
บทบาทของ Luddites และความกลัวต่อเทคโนโลยี2:56
ซึ่งความน่าสนใจของผมคือ สุดท้ายบทบาทของ เน็ต ลัด มีหน้าตายังไงในกระบวนการที่การทอผ้ามันเปลี่ยน
จากงานฝีมือไปเป็นงานอุตสาหกรรมครับ คือสุดท้ายเค้าก็เหมือน เป็นสัญญาณนึงที่เกิดขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเราก็เห็นว่า โลกมันเปลี่ยนไปเนาะ
Terminator: ภาพสะท้อนของความกลัว AI3:14
อย่างที่สองครับ มันเป็นหนังที่สนุกมาก ว่าที่เป็น
accurate portrait ของโลกนะครับ ว่าใน คนเหล็ก 2099
ใช่มั้ย ในอีกหลายปีข้างหน้านะครับ โลกเราจะเป็นยังไง ก็น่าจะเป็นแบบนี้นะครับ ก็คือเดี๋ยว แซม อัลท์แมน ก็จะเปลี่ยนชื่อบริษัท OpenAI ไปเป็น Skynet แล้วก็ มันก็จะเกิดหุ่นหน้าตาแบบนี้ขึ้นมา แล้วก็ยิงทุกคนทิ้งครับ เรื่องนี้ข้ามไปก่อนละกันช่างมัน
ต้นไม้แห่งเงิน: คุณค่าของมนุษย์ในโลกที่ AI ครอง3:45
ก็เรื่องที่สามครับ มาจาก webtoon เรื่องนึงที่ผมชอบมาก ชื่อ Clinic of Horrors มันมีหน้านึงครับเป็นบทนึงที่ชื่อ Tree of Money หรือว่าเป็นต้นไม้แห่งเงินครับ
เค้าอธิบายว่าระบบเศรษฐกิจ ในโลกแบบการ์ตูนเรื่องนี้ครับ มันทำงานยังไง เค้าก็บอกว่า สิ่งที่ทำเนี่ยครับก็คือให้คน ไปกดปุ่มวันละ 14 ชั่วโมง แล้วก็เงินมันก็จะงอกออกมา จากต้นไม้เพื่อเป็นแบบ ความ suffer ของมนุษย์นับเป็น เหมือนต้นกำเนิดของเงิน อะไรแบบนี้ครับในระบบเศรษฐกิจของเค้า ซึ่งผมรู้สึกว่าไอ้เรื่องสามเรื่องนี้ครับ มันมีความน่าสนใจ
การวิเคราะห์ 3 เรื่องเล่า4:22
ในสามมุมมอง ที่มันเป็น คนละเรื่องเดียวกัน เรื่องแรกครับ เรื่องของ luddite มันเหมือนเป็นการตั้งคำถามว่าจริงๆ แล้ว AI hype web3 hype อินเทอร์เน็ต hype หรือว่าอะไร ที่มันเป็นสัญญาณอย่าง Y2K หรือ 2038 เนี่ยมันไม่ได้เกิดขึ้นมา…
ฮะ มีคนชูป้าย FC ด้วยเหรอฮะ ขอบคุณมากครับ อ๋อ 5 นาที โอเค
แหม! โอเค ก็มันทำให้เราได้เห็นว่า จริงๆ แล้วเนี่ยแบบ
ความกังวล ต่อการพัฒนาของโลกใบนี้ มันเป็นสิ่งที่มันเกิดขึ้นมานานแล้ว แล้วบางทีมันก็ส่งผลกระทบจริงๆ มันทำให้งานหลายอย่างหายไปจริงๆ หลายอย่างมันก็ไม่เป็นอย่างที่คิดอย่างเช่นแบบ prediction ตอนต้น เรื่องที่ 2 มันคือการตั้งคำถามว่า สุดท้ายแล้วเรื่องของ AI หรือเรื่องของ technological disruption เนี่ยมันไม่ได้เกิดขึ้นมา แค่แบบในช่วง 2 ปีนี้ แต่มันเป็นกระบวนการที่สั่งสมมาภายใต้
สังคมมนุษย์มานานแล้วอะฮะ ว่าถ้าถอดจากแบบว่า AI ในยุคนี้ มันเป็นยังไงมันคือแบบการตั้งคำถามว่า แล้วคนเราจินตนาการถึงแบบ technological disruption ยังไง ว่ามันจะมีเอเลี่ยนบุกมาทำร้ายโลก หรือเปล่า มันจะมีแบบ AI ถือปืนมายิงมนุษย์หรือเปล่า หรือมันจะเป็น process ยังไง
งานในศตวรรษที่ 21 เปรียบเสมือนศาสนา5:45
แล้วก็เรื่องที่ 3 ฮะ มันคือการตั้งคำถามว่า ตอนที่ผมอ่านบทนั้น ของ Clinic of Horrors อะฮะ ผมจินตนาการได้เรื่องนึงว่า เฮ้ยแป๊บนึง การที่แบบคนเรากดปุ่ม วันละ 14 ชั่วโมงอะมันดูไม่ได้ ก่อประโยชน์อะไรต่อฟังก์ชัน ของการดำเนินของสังคมทั้งนั้นอะไรเงี้ยฮะ แต่ว่าความน่าสนใจคือ ถ้าเราจินตนาการโลกที่แบบ AI ยึดงานเราหมดแล้วอะฮะ แล้วสุดท้ายแล้วมันไม่เหลืองานอะไรให้ เราทำแล้วอะ สิ่งที่มนุษย์จะทำ เพื่อแบบจะยังคง status quo ของสังคมเอาไว้ หรือแบบจะยังรักษา คุณค่าของตัวเองไว้มันจะเป็นยังไง มันมีนักเขียนคนนึงเขียนใน The Atlantic ฮะ คือ Paul Direk เค้าเคยเขียนไว้เรื่องเกี่ยวกับว่า จริงๆ แล้ว งานนับเป็น- งานในศตวรรษที่ 21 อะฮะ มันทำหน้าที่เหมือนศาสนาในยุคก่อนหน้านี้ ว่าคือ เมื่อก่อนเรายึดถือศาสนา เป็นเครื่องมือเนาะว่า เราทำงานแล้วก็สวดมนต์ แล้วก็ตายไปขึ้นสวรรค์อะไรเงี้ยครับ แต่คำถามคือทุกวันนี้
การตัดสินคุณค่าของมนุษย์ในอนาคต6:50
เวลาคนเรา judge value ของตัวเองหรือของคนอื่น เขา judge กันยังไง ว่าอ๋อคนนี้เป็นหมอ คนนี้ เป็นโปรแกรมเมอร์ คนนี้เป็นคนตกงาน คนนี้เป็น NEET คนนี้ไม่มีงานทำ ก็คือมันเป็นการตั้งคำถามว่าโอเค
โลกหลังจากตรงนั้นมันจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อเราไม่สามารถใช้งาน หรือหน้าที่ที่ตัวเองเคยทำ หรือ contribute ต่อระบบ economic ไปเป็นตัวตัดสินคุณค่าของมนุษย์ได้แล้ว
คำถามสำคัญ: AI แย่งงานมนุษย์ หมายความว่าอย่างไร?7:17
ก็มันเป็น 3 เรื่องที่เราจะหาคำตอบกันวันนี้ครับ ซึ่งจริงๆ ก็คิดไว้ระหว่างฟังก็คิดไว้ก่อนได้เนาะ
ใช่ครับ ใช่ครับ ก็เป็นการบ้านระหว่างฟัง จากโจทย์เนี่ยครับมันทำให้เราเห็นว่า เวลาเราพูดว่า AI แย่งงานมนุษย์ มันไม่ได้เป็นแค่การตั้งคำถามว่า เฮ้ย เราจะตกงานในฐานะคนคนนึง แต่ถ้าเรามองภาพกว้างมากขึ้นครับ อ๋อมีป้าย FC อีกแล้ว หมดเวลาแล้ว ผมชื่อปั๊บนะครับ ไม่ได้ชื่อหมดเวลาแล้ว ก็ขอบคุณครับ
ผลกระทบของ AI ต่อสังคมและเศรษฐกิจ7:47
เราจะเห็นว่าคำพูดเนี่ยครับ มันสะท้อนภาพมากกว่าแค่แบบ
เอ้ย เราในฐานะคนหนึ่งคนจะตกงานยังไง แต่มันสะท้อนภาพว่าในระบบเศรษฐกิจแล้ว คนที่จะอยู่รอด คนที่ไม่อยู่รอด หรือว่าการคืบคลานมาของเทคโนโลยี มันจะ shift มุมมองของสังคมไปยังไงกันบ้าง ซึ่งมันเป็น process ที่มันใหญ่มาก แล้วก็อย่างที่ตอนต้นพ ูด มัน predict ได้ยากครับ
สรุปและบทส่งท้าย8:09
แต่สิ่งที่เราพยายามจะทำจริงๆ ก็คือการพยายาม making sense กับมัน จากมุมมองเล็กๆ เนาะ ซึ่งมันก็จะสะท้อนกับภาพของ talk ในวันนี้ ก็จบแล้วครับ
จริงๆ น่าจะมีมากกว่านี้แต่ทำสไลด์แค่นี้
ก็เข้า session แรกเลยแล้วนะพี่ภูมิใช่ไหมครับ เย้ขอบคุณครับ เย้ๆ