🎞️ Videos If your answer is yes,

Description

Description: A participatory performance in which each participant is a single data point, physically embodying their values.

Chapters

  • แนะนำตัวและเกริ่นนำถึง Performance ที่เกี่ยวกับ Data และ Algorithm 0:00
  • แนะนำ Walking Mass: Participatory Performance โดย NUUM Collective 0:42
  • เริ่มต้น Performance: หาอาสาสมัคร 10 คน 1:11
  • Warm-up: จัดเรียงอาสาสมัครตามคุณสมบัติต่างๆ 1:41
  • Warm-up: หาจุดยืนที่สบายที่สุด 2:29
  • Warm-up: เรียงลำดับตามความสูง, ขนาดเท้า, ความยาวนิ้วก้อย, อายุ, ความเหนื่อย, ความสุข, ความเฟรนด์ลี่, การ Expressive และความงง 3:01
  • เดินอย่างอิสระในพื้นที่ และสังเกตสิ่งรอบข้าง 6:28
  • ยืนเรียงแถวหน้าชั้นหนังสือ และตอบคำถาม Yes/No ด้วยการก้าวเดิน 7:00
  • คำถาม Yes/No ชุดที่ 1: คุณสมบัติส่วนตัว และความชอบ 7:53
  • คำถาม Yes/No ชุดที่ 2: จำนวนรูจมูก และจำนวนชีวิต 8:51
  • คำถาม Yes/No ชุดที่ 3: คำถามเชิงปรัชญาเกี่ยวกับ Freedom, ความดี, อนาคต และความตาย 9:15
  • เดินอย่างอิสระอีกครั้ง: ใช้ Freedom อย่างไร? 12:51
  • พูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้สึกหลังจบ Performance 14:03
  • พูดคุยถึงความรู้สึกในการเรียงแถว และการประเมินตนเองกับผู้อื่น 15:23
  • เปรียบเทียบความรู้สึกจากคำถามช่วงต้นและช่วงท้าย 16:09
  • อธิบายธีมของ Performance: Physical Features, การตัดสินส่วนบุคคล, Self-Awareness, และ Embodiment 17:00
  • อธิบาย Algorithm ที่ใช้: Sorting และ Conditional Statement 18:03
  • มนุษย์ทำให้ Data ซับซ้อน: Data เป็นตัวเลข vs. ความรู้สึกผ่านร่างกาย 18:17
  • สรุป: หาจุดสมดุลระหว่างภาพใหญ่ของ Data และน้ำหนักของแต่ละ Data Point 19:03
  • ช่วงแนะนำช่องทางติดต่อ และขอบคุณผู้ชม 19:40
  • Q&A: ความซับซ้อนของมนุษย์กับ Algorithm ที่เรียบง่าย 20:01
  • Q&A: การใช้ Data และ AI ในชีวิตประจำวัน และการไม่ลืมความเป็นมนุษย์ 20:31
  • ตอบคำถาม: การเห็นอกเห็นผู้อื่น และการนำเสนอ Data ในรูปแบบที่เข้าถึงอารมณ์ 21:30

Transcript

คำบรรยายต่อไปนี้อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด หากคุณพบข้อผิดพลาดใดๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดได้บน GitHub

แนะนำตัวและเกริ่นนำถึง Performance ที่เกี่ยวกับ Data และ Algorithm0:00

ค่ะ ก็ If your answer is yes นะคะ เดี๋ยวจะแนะนำตัวเองทีหลังแต่ขอเริ่มพูดก่อน คือคิดว่าทุกคนที่อยู่ที่นี่น่าจะคิดเหมือนกันว่าดาต้าหรืออัลกอริทึมต่างๆ สามารถนำไปใช้ได้ในหลายศาสตร์มากๆ ไม่ใช่แค่ในรูปแบบหรือฟังก์ชันพื้นฐานเดิมๆ

เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาลองสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ได้เข้าถึงดาต้าโดยใช้อัลกอริทึมแบบใหม่ๆ กัน

ผ่านรูปแบบของ Performance ที่ให้คนดูมีส่วนร่วมด้วยนะคะ

แนะนำ Walking Mass: Participatory Performance โดย NUUM Collective0:42

งานนี้ที่จริงเป็นงานที่นันเคยทำมาก่อนนะคะ ที่เป็น participatory performance เนี่ยแหละ ชื่อ Walking Mass โดย NUUM Collective ซึ่งนันเป็นหนึ่งใน 5 คนใน Collective นี้นะคะ หนึ่งใน 5 คนในกลุ่มศิลปินที่ทำงานวิจัย ด้านคอริโอกราฟีและก็คอมพิวเตอร์เทชั่น ซึ่งงาน Walking Mass นี่เริ่มต้นที่นิวยอร์ก แล้วก็แสดงที่นั่นมา 4 ครั้ง แล้วก็ไปแสดงที่ทาลลินน์ที่เอสโตเนียอีกครั้งหนึ่งค่ะ

เริ่มต้น Performance: หาอาสาสมัคร 10 คน1:11

พร้อมไหมคะ (หัวเราะ) เราต้องการ เอ่อ Volunteer อาสาสมัคร 10 คน เดี๋ยวเราจะ Perform กันใน Space ตรงนี้ เดี๋ยวขอ 10 คน คนที่สนใจเดี๋ยวขึ้นมายืนรอด้านนี้ได้เลยค่ะ

คนอื่นเดี๋ยว เอ่อ ถ้าจะให้มองเห็นต้องมายืนด้านนี้นะคะ เดี๋ยวเชิญด้านหน้า ด้านหน้าเวทีด้วย

Warm-up: จัดเรียงอาสาสมัครตามคุณสมบัติต่างๆ1:41

โอเค คนที่เป็น 10 คนที่ยืนอยู่ตรงนี้นะคะ เกินมั้ย หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ พอดี โอเค เราจะไม่ออกจาก Space ตรงนี้นะคะ คุณจะอยู่แค่ตรงนี้ ด้านนี้เรียกว่าหน้าห้องนะคะ ด้านนี้เรียกว่าหลังห้อง เดี๋ยวทุกคนขอเชิญด้านหน้าเลยนะคะ ไม่งั้นจะมองไม่เห็น Please join on the front otherwise you won't be able to see the performance. โอเค เดี๋ยวจะไปแอบในที่ที่ทุกคนไม่เห็น แค่โฟกัสแค่เสียงนั้นนะคะ ไม่ต้อง ไม่ต้องพยายามหันมา

โอเค เดี๋ยวเราจะมาวอร์มอัพกันก่อนนะคะ เริ่มจากการเรียงหน้ากระดานหันหน้ามาทางโปรเจคเตอร์

Warm-up: หาจุดยืนที่สบายที่สุด2:29

คุณพอใจกับจุดที่คุณยืนหรือยัง

ถ้าคุณรู้สึกไม่พอใจกับจุดที่คุณยืนสลับกันได้

เอาจุดที่คุณยืนแล้วรู้สึกสบาย

ไม่ต้องเห็นโปรเจคเตอร์ค่ะ แต่ต้องเรียงหน้ากระดาน

ลองสังเกตดูอะไรที่ทำให้จุดนี้สบายสำหรับคุณ

Warm-up: เรียงลำดับตามความสูง, ขนาดเท้า, ความยาวนิ้วก้อย, อายุ, ความเหนื่อย, ความสุข, ความเฟรนด์ลี่, การ Expressive และความงง3:01

ถ้าพร้อมแล้ว เราจะเริ่มจากการเรียงตามความสูงก่อนเลยค่ะ คนที่สูงน้อยที่สุดด้านหนึ่ง คนที่สูงมากที่สุดอีกด้านหนึ่ง ด้านไหนก็ได้ลองดูกัน ด้านไหนคือสูงมากที่สุด ด้านไหนคือสูงน้อยที่สุด เรียงตามความสูงค่ะ เรียงตามความสูง 5 4 3 2 ต่อไปเรียงใหม่ค่ะ เอาจากคนที่เท้าเล็กที่สุดไปถึงคนที่เท้าใหญ่ที่สุด เท้าเล็กที่สุดไปถึงเท้าใหญ่ที่สุด 5 4 3 จากคนที่นิ้วก้อยนิ้วมือยาวที่สุด ไปจนถึงคนที่นิ้วก้อยนิ้วมือสั้นที่สุด

นิ้วก้อยนิ้วมือยาวที่สุด

ไปถึงนิ้วก้อยนิ้วมือสั้นที่สุด

เรียงตามลำดับนะคะ คนที่อายุน้อยที่สุด ไปจนถึงคนที่อายุมากที่สุด ห้ามถามอายุกันค่ะ คนที่อายุน้อยที่สุดไปจนถึงคนที่อายุมากที่สุด

ห้ามถามอายุกันนะคะ

3 2 1 คนที่เหนื่อยมากที่สุด ไปจนถึงคนที่เหนื่อยน้อยที่สุด

เหนื่อยมากที่สุดไปจนถึงเหนื่อยน้อยที่สุด

คนที่มีความสุขมากที่สุด

ไปถึงคนที่มีความสุขน้อยที่สุด

คุณมั่นใจกับจุดที่คุณยืนอยู่หรือไม่

ถ้าไม่ขยับได้นะคะ

ขยับได้นะคะ

คนที่เฟรนด์ลี่มากที่สุด ไปจนถึงคนที่เฟรนด์ลี่น้อยที่สุด 5

4

3

2 1 คนที่ Expressive มากที่สุด ไปจนถึงคนที่ Expressive น้อยที่สุด Expressive มากที่สุดไปจนถึง Expressive น้อยที่สุด

3 2 1 สุดท้ายค่ะ คนที่ดูงงมากที่สุด ไปจนถึงคนที่งงน้อยที่สุด

เดินอย่างอิสระในพื้นที่ และสังเกตสิ่งรอบข้าง6:28

ต่อไปนี้ค่ะ ขอให้ทุกคนเดินตามสบายในพื้นที่นั้นนะคะ รอบๆ พื้นที่นั้นไม่ต้องคิดอะไรมาก เดินในทางของตัวเอง สังเกตคนรอบๆ ข้างเว้นระยะห่างเท่าๆ กัน

ไม่เบียดเบียนคนด้านข้าง

สังเกตพื้นที่ที่เราอยู่

หายใจเข้าออกตามปกติ

ยืนเรียงแถวหน้าชั้นหนังสือ และตอบคำถาม Yes/No ด้วยการก้าวเดิน7:00

เมื่อรู้สึกผ่อนคลายแล้ว ให้เดินไปที่ชั้นหนังสือด้านหน้าห้อง

ยืนเรียงแถวและหันหน้าไปทางหลังห้องค่ะ

แถวตรงค่ะ

ไม่ซ้อนกันค่ะ

ต่อไปนี้เราจะถามคำถามที่คุณสามารถตอบว่าใช่หรือไม่ ถ้าใช่ให้เดินหน้า 1 ก้าว ถ้าไม่ใช่ให้ยืนอยู่เฉยๆ ถ้าคุณเข้าใจยกมือขึ้น

คำถาม Yes/No ชุดที่ 1: คุณสมบัติส่วนตัว และความชอบ7:53

คุณเป็นคนดีใช่หรือไม่

คุณชอบอยู่บ้านคนเดียว ใช่หรือไม่?

แมวดีกว่าหมา

กาแฟดีกว่าชา

ของหวานดีกว่าของคาว หนังสือกระดาษดีกว่าอีบุ๊ก สระว่ายน้ำดีกว่าทะเล

สีเขียวแฮปปี้กว่าสีแดง

สีดำบริสุทธิ์กว่าสีขาว

เลขศูนย์มีพลังมากกว่าเลขหนึ่ง

คำถาม Yes/No ชุดที่ 2: จำนวนรูจมูก และจำนวนชีวิต8:51

คุณอยากมีรูจมูก 1 รูหรือ 3 รู เดินหน้า 1 ก้าวต่อ 1 รู

คุณอยากมี 1 ชีวิตหรือ 3 ชีวิตเดินหน้า 1 ก้าวต่อ 1 ชีวิต

คำถาม Yes/No ชุดที่ 3: คำถามเชิงปรัชญาเกี่ยวกับ Freedom, ความดี, อนาคต และความตาย9:15

ต่อไปนี้จะเป็นคำถามเซ็ตสุดท้าย ถ้าคำตอบของคุณคือ ใช่ ให้เดินไปสุดชั้นหนังสือฝั่งหน้าห้อง

ถ้าคำตอบของคุณคือ ไม่ใช่ ให้เดินไปที่ชั้นหนังสือสุดหลังห้องจุดที่คุณยืนอยู่ตอนนี้

คุณไม่สามารถอยู่ตรงกลางได้ ถ้าคุณเข้าใจยกมือขึ้น

Freedom มีจริงหรือไม่

ถ้าคำตอบคือใช่ให้เดินไปทางหน้าห้องนะคะ คำตอบไม่ใช่อยู่ที่หลังห้อง

ไม่สามารถอยู่ตรงกลางได้

คุณมี freedom หรือไม่

โลกนี้ดีหรือไม่

คุณเป็นคนดีหรือไม่

คุณเป็นคนที่คุณตั้งใจจะเป็นหรือไม่

คุณมองเห็นอนาคตหรือไม่

คุณกลัวที่จะตายหรือไม่

คุณไม่ใช่คนดีใช่หรือไม่

คุณรู้หรือไม่ว่าการเป็นคนดีหมายความว่าอย่างไร

คุณไม่ใช่…

คุณไม่ใช่คนที่คุณไม่ได้ตั้งใจจะเป็นใช่หรือไม่

อนาคตดูดีสำหรับคุณหรือไม่

ถ้าคุณไม่มีวันตาย คุณจะทำอะไรในทุกๆ วัน ถ้าคุณไม่มีวันตาย คุณจะมี freedom หรือไม่

เดินอย่างอิสระอีกครั้ง: ใช้ Freedom อย่างไร?12:51

หลังจากนี้ นันจะนับ 1 ถึง 10 นะคะ ตอนที่พูดว่า 10 ให้ทุกคนเริ่มเดิน เดินแบบไม่มีจุดมุ่งหมาย คุณจะเลือกเดินทางไหน คุณจะทำอะไรกับ freedom นี้ 1 2 3 4 5

6

7

8

9

จบแล้วค่ะ

พูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้สึกหลังจบ Performance14:03

ในคนที่แสดงรู้สึกยังไงกันบ้างคะ

แป๊บนึงนะคะ แป๊บนึง แป๊บนึง รู้สึกสับสนกับดับเบิ้ลคอนทราดิกชันฮะ รู้สึกว่ามันตามยาก เพราะเหมือนพอแบบ แค่หน้าห้องหลังห้อง เราก็แทร็กไม่ถูกแล้ว ค่ะ

ที่จริงมันเหมือนวิธีที่เราเขียนโค้ดเหมือนกันนะ ถ้าอันนึงไม่ใช่อันนึงแล้วไม่ใช่อีกอันนึงแล้วไม่ใช่อีกอันนึง

มีอะไร มีอะไรอีกไหมคะคนที่ได้เดินเมื่อกี้ แต่ก็รู้สึกเหมือนกันว่าแบบคำถามคือมันใช่หรือไม่ใช่ แต่คำถามก็คือไม่ใช่กับใช่อะไรอย่างเงี้ย มันเลยแบบว่าต้องมานั่งคิดว่าไม่ใช่ของไม่ใช่ก็คือใช่ อ่า ค่ะ คอมเมนต์เดียวกันที่จริงตั้งใจนะคะให้เห็นถึง

เวลาเราเขียน conditional logic อะไรบางอย่างว่าลิมิตของมันคืออะไร หรือว่าความสับสนของมันคืออะไร เวลาเราพูดเป็นภาษาที่เป็นภาษามนุษย์แล้วมันงงยังไง ค่ะ

พูดคุยถึงความรู้สึกในการเรียงแถว และการประเมินตนเองกับผู้อื่น15:23

แล้วตอนที่เรียงแถวเป็นหน้ากระดาษรู้สึกยังไงกันบ้าง

แต่ละคนจะต้องอยู่ซึ่งก็ต้อง evaluate คนอื่นรอบๆ ด้วย

รู้สึกว่า ต้อง evaluate คนอื่นๆ เราไปสุดเลยหรือว่าเราอยู่ระหว่าง เรา relative หรือว่าเราแบบ at the most รู้สึกว่าต้อง evaluate ว่าตัวเองจะอยู่เป็นแบบ absolute เลยหรือเปล่า หรือว่าจะลอง evaluate ตัวเองเทียบกับคนอื่นค่ะ ส่วนใหญ่จะมาอยู่ตรงกลาง

หลังๆ คนมากองกันตรงกลางค่ะ

เปรียบเทียบความรู้สึกจากคำถามช่วงต้นและช่วงท้าย16:09

รู้สึกว่าคำถามตอนต้นๆ กับปลายๆ มันเหมือนกันหรือต่างกันยังไงบ้าง รู้สึกว่ามันต่างตรงที่ว่าแบบคำถามมันอาจจะชอบแบบว่า subjective มากกว่า Subjective มากกว่าค่ะ บางทีมันก็เหมือนบางทีก็ไม่รู้ว่าตัวเองจะอยู่ตรงไหน แต่สมมติถ้าเรารู้จักเพื่อนอย่างเงี้ย เราก็จะแบบพอสลับกันได้ อืม ที่จริงมันเป็นแบบ sorting algorithm ง่ายๆ มากแต่ว่าเราจะ sort จากฟีเจอร์ที่มันมองเห็นหรือเปล่า หรือเราจะ sort จากฟีเจอร์ที่ที่จริงแล้วมันลึกกว่านั้นเนาะ ค่ะ ที่จริงเวลาทำสิ่งนี้ค่ะ มันจะมีธีมของมัน อย่างที่เมื่อกี้ทุกคนบอกเลย มันจะมีอะไรที่เป็นแบบฟิสิกอลฟีเจอร์ของเรา หรืออะไรที่เป็นการแบบตัดสินส่วนบุคคล

อธิบายธีมของ Performance: Physical Features, การตัดสินส่วนบุคคล, Self-Awareness, และ Embodiment17:00

อีกอันหนึ่งคือ self-awareness คือเหมือนเราเกรงใจชาวบ้าน แล้วก็อีกอันคือ เวลาที่เดิน 1 ก้าวกับเวลาที่ต้องเดินไปสุดอะ ความรู้สึกมันแตกต่างกัน เพราะว่าเหมือนเราต้อง embody สิ่งที่เราเชื่อจริงๆ เราต้องเหมือนแสดงออกให้คนทุกคนเห็นว่านี่คือสิ่งที่เราคิด เราคิดว่าเราเป็นคนดี เราคิดว่าโลกนี้ดี เราไม่กลัวการตายอะไรอย่างงี้เนาะ ซึ่งมันเป็น value ที่... แบบที่จริงแล้วมันลึกมากสำหรับคนเราค่ะ แล้วก็แรงกดดันทางสังคมว่า เอ้า อยู่ดีๆ ฉันคิดว่าฉันเป็นคนดีอยู่คนเดียวอะไรอย่างงี้เนาะ แล้วก็สุดท้ายคือ ทุกอย่างมันคลุมเครือไปหมด มันไม่ได้มานั่งพูดว่าอะไรคือการเป็นคนดี หรือว่าอะไรคือแบบชีวิตนะคะ

อธิบาย Algorithm ที่ใช้: Sorting และ Conditional Statement18:03

อัลกอริทึมที่เราใช้อันนี้ตรงไปตรงมามาก อันแรกคือ sorting algorithm อันที่สองคือ conditional statement ธรรมดาเลย แต่เป็นมนุษย์ต่างหาก เป็นพวกเราต่างหากที่ทำให้ process นี้มันซับซ้อน

มนุษย์ทำให้ Data ซับซ้อน: Data เป็นตัวเลข vs. ความรู้สึกผ่านร่างกาย18:17

เวลาเรานึกถึงดาต้า เราจะมักจะเห็นภาพมันเป็นตัวเลข ตัวเลขที่มองจากไกลๆ แล้วเห็นแพทเทิร์น เห็นเป็นข้อมูล การที่เราลดทอนอะไรบางอย่างเป็นตัวเลขเนี่ย ทำให้เราเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย เข้าใจถึงภาพใหญ่ของสิ่งที่เกิดขึ้น สามารถวิเคราะห์ได้ สามารถทำความเข้าใจได้ในเชิงคอนเซ็ปต์ เข้าใจถึงแนวคิดและก็เห็นภาพในหัว

แต่น้อยมากที่ข้อมูลพวกนี้จะสื่อสารกับเรา แบบที่เรารู้สึกได้ผ่านร่างกายของเราจริงๆ ผ่านพื้นที่ที่เราอยู่จริงๆ หรือผ่านคนที่อยู่รอบๆ ข้างเราจริงๆ ค่ะ

สรุป: หาจุดสมดุลระหว่างภาพใหญ่ของ Data และน้ำหนักของแต่ละ Data Point19:03

คำถามของทอล์กทั้งหมดนี้ก็คือ เราจะหาบาลานซ์ของสิ่งนี้ได้ยังไงนะคะ จะทำยังไงให้เราเข้าใจทั้งภาพใหญ่และสามารถรู้สึกถึงน้ำหนักของข้อมูลพวกนี้ได้จริงๆ

น้ำหนักของแต่ละดาต้าพอยท์ เวลาเราอ่านข่าว การที่คนคนหนึ่งเสียชีวิตจากโควิด

มันก็ยังเป็น 1 คน คนนั้นจะเป็นคนที่อยู่ข้างๆ เราก็ได้นะคะ

ช่วงแนะนำช่องทางติดต่อ และขอบคุณผู้ชม19:40

ประมาณนี้ค่ะ ถ้าใครสนใจแนวนี้ ก็ติดต่อได้ผ่านเว็บไซต์นะคะ อินสตาแกรม หรือว่าถ้าอยากสร้างประสบการณ์ก็จ้างได้ค่ะ ที่บริษัท Glow Story ขอบคุณค่ะ (เสียงปรบมือ)

Q&A: ความซับซ้อนของมนุษย์กับ Algorithm ที่เรียบง่าย20:01

ระหว่างนี้มีใครมี Q&A กับพี่นันสั้นๆ ไหมฮะ แบบมีใครมีคำถามอะไรไหม โอเค ผมขอคำถาม 1 แล้วกันฮะ ภูมิรู้สึกว่าแบบเหมือนจริงๆ ชอบประโยคที่บอกว่าแบบเหมือน “the algorithm is very simple but humans are complex” เพราะภูมิรู้สึกว่าจริงๆ มันไม่ได้ apply แค่กับที่เราเล่นเมื่อกี้ แต่แบบจริงๆ มันคือแบบสิ่งที่เราเห็นในแบบชีวิตประจำวันเลยว่าแบบ very simple interaction มันแบบนำไปสู่อะไรที่มันซับซ้อน เรารู้สึกอันนี้แบบเหมือนเป็นคำถามด้วย แล้วก็อยาก share

Q&A: การใช้ Data และ AI ในชีวิตประจำวัน และการไม่ลืมความเป็นมนุษย์20:31

ด้วยนิดนึงฮะ ว่าภูมิรู้สึกว่าแบบเหมือนเราเลิกเล่นโซเชียลมีเดีย เราเลิกเล่นพวกเฟซบุ๊กพวกอะไร เพราะเรารู้สึกว่า discourse ในนั้นมันแบบมันมีความ reductive เยอะมากๆ มันมีความแบบลดทอนอะไรมาเหลือแบบเพียงแค่ข้อมูลที่คนเห็น

โดยไม่ได้คำนึงถึงแบบพฤติกรรมต่างๆ ยกตัวอย่างแบบชัดสุด มีใครได้ดู DOGE ของ Elon Musk ไหมฮะ ที่เขาแบบแค่ look at data แล้วก็แบบไล่คนออก คืออันนี้อาจจะเป็นคำถามแล้วก็แบบเหมือนคำถามทุกคนด้วยว่าแบบ เราคิดว่าเราอยู่ในยุคที่แบบคนแบบใช้เดต้าใช้แบบ AI driven tools เยอะมากๆ เราจะทำยังไงให้เราแบบไม่ลืมความเป็นมนุษย์แบบเหมือน DOGE ทำยังไงให้คนแบบไม่ลืมว่าทุกครั้งที่เราไล่คนออกด้วย AI แบบอย่างที่พี่นันบอกเลย คน 1 คนก็ยังเป็นคนนะฮะ

อืม

ตอบคำถาม: การเห็นอกเห็นผู้อื่น และการนำเสนอ Data ในรูปแบบที่เข้าถึงอารมณ์21:30

ที่จริงเราไม่ได้มีคำตอบขนาดนั้น แต่เรารู้สึกว่ามันเป็นการ...

เราเองต้องรู้สึกว่าเราเป็น human ก่อนอ่ะ แล้วก็เห็น เห็นว่าคนอื่นเป็น human เหมือนกัน แบบที่บอกเมื่อกี้ การที่เราถูก reduce เป็นดาต้าพอยท์มันก็มี use ของมัน เออแต่ว่าสมมุติว่าเป็นเคสคนไล่ออกอะ มันมีอะไรต้อง consider เกี่ยวกับคน คือเรามองแค่แบบซีกเดียวของคนนั้น คือแบบ performance ในงาน แต่เราไม่ได้มองแบบ them as a total human แบบทั้งชีวิตของเขาจริงๆ อะไรอย่างเงี้ย

อืม ซึ่งเราว่าการ…

สิ่งที่อยากพูดเมื่อกี้อะค่ะ คือวิธีที่เรา

express data หรือว่าทำมันออกมาเป็น experience อ่ะ มันสามารถช่วยได้ ยกตัวอย่าง อย่างงานนึงข้างนอกเนี่ยแหละค่ะ ที่พี่โอ้เอาโปสเตอร์มาขาย เป็นงานเกี่ยวกับ เอ่อ คนที่ตายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เออ แล้ววิธีที่เรา visualize ก็คือเป็นไม้ขีดเรียงๆๆ กัน แล้วก็ทุกๆ วันอะมันจะถูกจุด เราก็จะเห็นมันแบบเป็นไฟแล้วก็ตายไป เป็นไฟแล้วก็ตายไป เป็นไฟแล้วก็ตายไป คือแค่นี้มันก็รู้สึกมากกว่าถ้าเห็นเบอร์อยู่บน Google Sheet แล้วอ่ะ เออ… ค่ะ

ขอบคุณครับ