🎞️ Videos → Human-AI Interactive Dancing · PROXENOROBOTICS
Description
ฟิล์ม อดีตเด็ก JSTP พาสำรวจจุดเริ่มต้นของ Proxenorobotics โปรเจกต์สร้างหุ่นยนต์จากปฏิสัมพันธ์ของโปรตีน โดยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และปรัชญา ผ่านมุมมองที่ไม่เหมือนใคร ฟิล์มจะพาคุณไปพบกับแรงบันดาลใจจากค่าย JSTP ที่จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการนำ concept ทางชีววิทยาและคณิตศาสตร์มาผสมผสานกันอย่างลงตัว และการใช้ AI ในการถอดรหัสประวัติศาสตร์เบื้องหลังหุ่นยนต์ มาร่วมค้นหาความเชื่อมโยงอันน่าสนใจระหว่างศาสตร์ต่างๆ และความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในโลกของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปพร้อมกัน
Chapters
- แนะนำตัวและที่มาของโปรเจกต์ JSTP สู่แรงบันดาลใจ 0:00
- จุดเปลี่ยนจากค่าย JSTP สู่คำถามเกี่ยวกับโปรตีน 1:18
- กำเนิด Proxenorobotics: หุ่นยนต์จากปฏิสัมพันธ์ของโปรตีน 2:43
- Proxenorobotics: ความคิดสร้างสรรค์ที่เชื่อมโยงเคมีและชีววิทยา 3:39
- การถอดรหัส EKG Signal ของหุ่นยนต์ด้วยคณิตศาสตร์ 4:50
- ถอดรหัสประวัติศาสตร์เบื้องหลัง Proxenorobot ด้วย AI 6:25
- ดนตรีจาก Proxenorobot และชีวประวัติหลังจบโปรเจกต์ 7:46
- เต้ เตชสิทธิ์ กับโปรเจกต์ต่อยอด Proxenorobotics สู่สมุนไพรทับลาน 8:45
- การแสดงเต็มรูปแบบของโปรเจกต์สมุนไพรทับลาน 10:23
- ที่มาและแรงบันดาลใจของโปรเจกต์สมุนไพรทับลาน: อำนาจ ท้องถิ่น และทุนนิยม 13:19
- รามเกียรติ์ เทคโนโลยี และการอนุรักษ์ข้อมูลสู่อนาคต 15:35
- Quantum Art Thailand และการประยุกต์ใช้ DFT ในโปรเจกต์ 16:12
- บทสรุป: วิทยาศาสตร์ ศิลปะ และประวัติศาสตร์ กุญแจไขปัญหาโลก 17:20
Transcript
คำบรรยายต่อไปนี้อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด หากคุณพบข้อผิดพลาดใดๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดได้บน GitHub
แนะนำตัวและที่มาของโปรเจกต์ JSTP สู่แรงบันดาลใจ0:00
สวัสดีครับ ผมชื่อฟิล์มนะครับ ก็เป็นเด็ก JSTP นะครับ คือครั้งนี้ ตัวงานนี้เนี่ย มันเกิดมาจากคำถามที่ผมเคยถามกับตัวเองและคนรอบข้างเมื่อ 4 ปีที่แล้วนะครับ คือผมต้องเล่า Background Information ของโปรเจกต์นี้ก่อนนะครับ คือเหมือนในโปรเจกต์นั้นเนี่ย โอเค มันเป็นช่วงตอนที่ผมอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 3 นะ ตอนนั้นเนี่ย มันเป็นช่วงในยุคโควิดเนอะ 2019 อะไรเงี้ยครับ มันก็จะมีการ work from home หรือว่าการที่ quarantine กักตัวอะไรเงี้ยครับ แต่ผมก็ได้โชคชะตาเลือก ให้เป็นหนึ่งใน 70 กว่าคน
ไปเข้าค่ายที่ชื่อว่า JSTP ครับผม ซึ่งคำว่า JSTP เนี่ยมันคือ Junior Science Talent Project ใช่ไหมครับ แต่มันเป็นค่ายๆ นี้ มันเป็นค่ายๆ ที่ทำให้ผมมองว่า science อะครับ มันไม่ได้เป็นแค่ science ที่มันเป็น isolation เดียว แต่มันเป็น science ที่มี subset ของฟีลด์ต่างๆ ที่อยู่ข้างในครับ ยกตัวอย่างเช่น ภาพอันนี้ครับที่ผมได้แสดงอยู่บนนี้เนาะ มันเกี่ยวข้องกับการเปิด perspective ใหม่ เกี่ยวกับการเต้นแล้วก็การ [unintelligible] นะครับผม ซึ่งผมมองว่า มันเป็นภาพที่รู้สึกมันให้ความ impressive กับผมมาก
และทำให้เกิด inspiration ครับ แต่ภาพนี้ยังไม่ได้เป็น turning point ของผมฮะ
จุดเปลี่ยนจากค่าย JSTP สู่คำถามเกี่ยวกับโปรตีน1:18
แต่อีกภาพหนึ่งที่เป็นจุด turning point ก็คือเป็นค่าย JSTP ในอีก 1 ปีข้างหน้าครับ นั่นก็คือเป็นภาพนี้ครับ มันเป็นภาพตอนที่เราใกล้จะจากลากันละ ในรุ่นที่ 14 นะครับ มันเป็น ช่วงเวลาที่แบบว่า โอเค มาอยู่ริมสระน้ำตอนประมาณเที่ยงคืนอะไรเงี้ยครับ ซึ่งผมก็ได้มีโอกาสไปเจอคนที่มีหลากหลายแบบ หลากหลายมุมมองนะครับ บางคนก็มีความเชื่อชอบทางด้านชีวะบ้าง หรือว่าบางคนก็เป็น quantum physics ไปเลยนะครับผม แต่ภาพนี้นะครับ เหมือนเราเป็นการหยอกล้อเล่นกันว่า การที่เราเต้นเป็นท่ารามเกียรติ์ต่างๆ
หรือการที่เราเต้นตามที่มีคน demonstrator ต่างๆ อะไรอย่างเงี้ย ใช่ครับ พวกเรามีความหลากหลายอยู่ข้างใน พวกเรามี unique characteristic อยู่ข้างใน แต่พวกเราได้เต้นในท่าทางเดียวกัน เพราะพวกเรามีอารมณ์ร่วมกันครับ แล้วผมก็ได้ตั้งคำถามกับตัวเองมาว่า แล้วในโลกนี้ มันมีโปรตีนอยู่ในหลากหลายชนิดมาก ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนเอ โปรตีนบี หรือว่าโปรตีนซีอะไรทำนองนั้นเนี่ย ใช่ครับ โปรตีนในแต่ละตัวนี้ ในโลกของชีวะมันย่อมมี interaction กัน มันย่อมมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และมันย่อมมี correlation ซึ่งกันและกัน ทำไมมันถึงจะเต้นไม่ได้ ทำไมมันถึงจะ สามารถ reflect some history behind the scene of its interaction ได้
กำเนิด Proxenorobotics: หุ่นยนต์จากปฏิสัมพันธ์ของโปรตีน2:43
อะไรประมาณนั้นครับ ซึ่งในเวลาต่อมานะครับ ผมได้เอาคอนเซ็ปต์นี้เนี่ย
เอาไปตั้งคำถามแล้วก็คุยกับคนคนนึงครับ ชื่อว่าพี่ [unintelligible] นะครับ ซึ่งเขาก็
เป็นคนคนนึงที่เขาสามารถเปิด perspective โลกของชีวะของผมได้นะครับ
มันก็เลยนำไปสู่สิ่งๆ นึงครับ เป็นโปรเจกต์ที่เรียกว่า Proxenorobotics ครับ Proxenorobotics มันคือการสร้างโรบอท มันคือการสร้างหุ่นยนต์อันเนื่องมาจากการ interaction ในโปรตีนในหลากหลายตัวครับผม ใช่ครับ ตอนนี้ทุกคนก็อาจจะมีภาพจำว่า มันก็อาจจะเป็นแค่หุ่นยนต์ดิจิทัลปกติใช่ไหมครับ แต่วันนี้ผมจะมาโชว์ครับว่า มันจะมีบางสรีระวิทยา มันจะมีบาง characteristic ที่มัน isomorphic หรือมันจะคล้ายคลึงกับมนุษย์ของพวกเราครับผม ทีนี้เนี่ย
Proxenorobotics: ความคิดสร้างสรรค์ที่เชื่อมโยงเคมีและชีววิทยา3:39
ผมขอเล่าโปรเจกต์นี้โดยภาพรวมก่อนแล้วกันว่า โอเค คือโปรเจกต์นี้มันค่อนข้างที่จะมีความ creativity ที่ค่อนข้างแหวกแนวไปหน่อยนะ คือผมรู้สึกว่า ผมเคยไปเห็นมีมๆ นึงที่เขาเอา chemical structure อะครับ
เอามาเรียงต่อกันให้มันเป็นรูปภาพ รูปภาพนึง มันก็แสดงอยู่บนสกรีนนี้อะครับ คล้ายๆ แบบคนที่กำลังเต้นซ้ายเต้นขวาใช่ไหมครับ แต่ผมก็ตั้งคำถามว่า ถ้า let's say ว่าเราลองมองใน สเกลที่มันกลายเป็น macro scale กันขึ้นล่ะ มันอาจจะมี correlation อะไรบางอย่างได้ โดยที่ผมได้ลอง consideration เอาว่า โอเค ในโลกนี้มันมีหลากหลายโปรตีนใช่มั้ย ถ้าเกิดว่าเราเลือกบางโปรตีนอะครับ บาง binding site ที่มีโปรตีน ligand interaction ซึ่งกันและกัน แล้วมันเกิดการ composite หรือประกอบกันเป็นรูปภาพนึงที่มันสามารถ interpretation ได้ว่าโอเคมันคือสิ่งมีชีวิตนึงขึ้นมาอะไรเงี้ยครับ คำถามคือว่าสิ่งมีชีวิตเนี้ยเราจะสามารถถอดรหัสหรือ
characterization อะไรบางอย่างได้ไหม คำตอบนะครับคือได้นะครับ
การถอดรหัส EKG Signal ของหุ่นยนต์ด้วยคณิตศาสตร์4:50
อย่างแรกเลยที่ผมอยากจะนำเสนอ ก็คือว่าในมนุษย์ของทุกคนเนี่ย มีหัวใจ พวกเราถึงอยู่ที่นี่ได้นะครับ ซึ่งหัวใจเนี้ย แน่นอนว่าในเชิงของชีววิทยามันจะมีสิ่งที่เรียกว่า EKG Signal ใช่ไหมครับที่มันจะกลายเป็น คล้าย ๆ Recurrent Loop อะไรประมาณนี้ครับ PQRS wave เนาะอะไรประมาณนั้น ผมก็เลยตั้งคำถามมาว่า มนุษย์เนี้ย มันมี hertz wave ที่เป็น loop loop loop ที่มันสามารถจับต้องได้ ที่สามารถ interpretation ได้ แล้วมันมีบางจุดไหม ที่เราจะสามารถเอาความพิเศษของคณิตศาสตร์เนี่ย เอามาเป็น EKG Signal ของโรบอทที่ผมได้สร้างขึ้น
คำตอบนี้ครับมันถูกตอบด้วยคลิปวีดีโอหนึ่งก็คือ Math is Art นะครับ วิดีโอนี้เป็นวิดีโอที่ตอนแรกผมก็ดูแล้วรู้สึกว่า โอเค มันค่อนข้างที่จะแบบว่า average ปกตินั่นแหละ แต่ว่าพอผมดูไปเรื่อยๆ ดูไปเรื่อยๆ ดูไปเรื่อยๆ มันกลับกลายเป็น turning point ของโปรเจกต์ Proxenorobotics ของผม เพราะคลิปวิดีโอนี้เป็น connector ระหว่าง biology และคณิตศาสตร์ ในอีกหนึ่งมุมมองหนึ่งที่เราไม่เคยเห็นครับผม ด้วยเหตุนี้เองครับผม มันก็เลยทำให้ผมเนี่ย ตีความคำว่าวิทยาศาสตร์อะครับ ไม่ใช่แค่วิทยาศาสตร์ แต่ผมตีความคำว่าวิทยาศาสตร์ มันคือศิลปะแห่งปรัชญาครับผม
ถอดรหัสประวัติศาสตร์เบื้องหลัง Proxenorobot ด้วย AI6:25
นอกจากนั้นเนี่ย ผมนะครับ ก็ได้เอาโรบอทตรงนี้เนี่ย Proxenorobot ตัวนี้เอามาลองถอดรหัสประวัติศาสตร์ behind the scene มันว่า เฮ้ย ก่อนที่มันจะมาเป็นโรบอทแบบนี้เนี่ย ถ้า let's say ว่าเราลองมองในเลนส์ของ artificial intelligence เนี่ย โอเค มันจะมี history อะไรบางอย่างไหมที่มันดูน่าสนใจ คำตอบเลยนะครับ จากที่ผมลองหลาย ๆ เคสอะ มันมีบางจุดที่ผมสามารถเห็นและผมรู้สึกว่ามันเป็นอีก chain หนึ่งที่มันจะ
เชื่อมต่อระหว่าง bio กับ math และประวัติศาสตร์ได้ครับ หลังจากที่ผมคุยกับ ChatGPT นะครับ โอเค พอผมอ่ะครับได้ทำการดู history มันแล้ว โอเคมันก็จะเป็น คล้ายๆ เป็นประวัติศาสตร์อันนึงใช่ไหมครับ ผมก็ตั้งคำถามกับมันต่อว่าทุกๆ ประวัติศาสตร์ทุกๆ culture มันก็ย่อมมีเพลงที่มันเป็น unique ของแต่ละประเทศใช่ไหมครับ สมมติว่า เป็นประเทศไทยก็จะมีอยู่ tone นึงใช่ไหมครับ หรือว่าเป็นประเทศญี่ปุ่นก็จะเป็นอีก vibe นึงใช่ไหมครับ อะไรประมาณนั้น ซึ่งผมอะก็ได้ลองทำการใช้ ChatGPT แล้วก็ Music Generator ในการ
decoding มันนะครับว่า โอเค ไอ้หุ่นยนต์อันเนี้ย มันมี characteristic อะไรบ้างที่มันเหมือนกับ human นะครับผม ประมาณนั้น
ดนตรีจาก Proxenorobot และชีวประวัติหลังจบโปรเจกต์7:46
แต่ว่าจากทั้งหมดทั้งมวลนะครับที่ผมเล่ามานะครับ มันเป็นแค่น้ำจิ้มที่ผมมาเล่าวันนี้นะครับ แต่ก่อนที่ผมจะ jumping ไปสู่ section ต่อไป ผมขอเล่าชีวประวัติของผมนิดนึงนะครับ หลังจากที่ผมเนี่ย จบโปรเจค Proxenorobotics แล้วนะครับ ผมก็ได้มีโอกาสเนาะ เป็นไดเร็คเตอร์ของ TED Club Korat นะครับ ซึ่งเป็น TED Club ครั้งแรกในตัวเมืองโคราชนะครับผม ซึ่งผมก็ได้ขึ้นไปทอล์กกับหลากหลายคน แล้วผมรู้สึกว่าไดนามิกของคนโคราชที่ผมได้ทำการ interaction เนี้ย มันมีความ exceptional และมันมีความ unique characteristic ในบางจุด ที่ผมรู้สึกว่าคุยกันแล้วเนี่ยมันทำให้ correlation ระหว่างศาสตร์ต่างๆ อะครับ จากที่มันเป็น weak correlation มันย่อมมีความ bonding ที่ strong strong strong มากขึ้น จนกระทั่งผมเนี่ยได้รู้จักกับคนหนึ่งครับ
เต้ เตชสิทธิ์ กับโปรเจกต์ต่อยอด Proxenorobotics สู่สมุนไพรทับลาน8:45
ชื่อ เต้ เตชสิทธิ์ เกงขุนทด ครับ ซึ่งคนนี้เนี่ยเป็นคนที่เขาชื่นชอบใน concept ของผมมาก ๆ ใน Proxenorobotics นะครับ และเขาก็เอา concept ตรงนี้เนี่ยนะครับ เอาไปพัฒนาต่อยอดเป็นโปรเจคอันนี้ครับ ปึ๊บ...
มันจะเป็นโปรเจคที่กล่าวเกี่ยวข้องกับ protein ligand interaction ของสมุนไพรในพืชทับลานครับ และการ interaction เหล่านั้นเนี่ย เราค้นพบว่ามันมีบางจุดนะครับ ที่มันจะสามารถสร้าง human AI interactive dancing ได้นะครับ ซึ่งจุดจุดนี้เนี่ย to be honest ว่าผมอาจจะไม่ได้ให้ข้อมูลที่ เอ่อ มัน precise ขนาดนั้นนะครับ ดังนั้นแล้วเนี่ยผมก็ต้องขออนุญาตเชิญนะครับคุณเต้ เตชสิทธิ์ เกงขุนทด นะครับ เชิญมาเล่าถึง inspiration และเล่าถึงจุด mindset หน่อยครับว่า ทำไม you ถึงสนใจโปรเจคนี้ แล้วคิดว่า the future ของโปรเจคนี้มันเป็นไงครับ โอเคครับ ชื่อเต้นะครับ ก็ถ้าเกิดอยู่ในสไลด์ก่อนหน้านี้จะเห็นหน้าผมอยู่ขอบๆ นะครับ ก็ไอ้ตัว TED Club Korat ที่พูดที่โคราชก็ ผม sponsor มันเองนี่แหละครับ เพราะผมไปอยู่โคราชเนาะ พอดีว่าตอนแรกอะ คือฟิล์มเขาชวนผมมาทอล์ก แต่ว่าตอนแรก ตอนแรกนึกว่าจะมาไม่ได้ครับ แต่เผอิญว่า
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมามีบรรยาย ที่ มศว พอดีก็เลยมาได้นะครับ ก็เอ่อ เอางี้ก่อนที่ผมจะอธิบายตัว background
การแสดงเต็มรูปแบบของโปรเจกต์สมุนไพรทับลาน10:23
โปรเจกต์ผมขออนุญาตเปิดตัว full performance ให้ดูแล้วกันนะครับ เดี๋ยวแป๊บนึง เดี๋ยวทำให้หน่อย (หัวเราะ) เดี๋ยวเปิด full performance ให้ดูนะครับว่าตอนแสดงจริงๆ เนี่ยเป็นยังไงนะครับ
เสียงเบามาก
ลองตั้งใจฟังเพลงดูนะครับเพราะว่าแต่งขึ้นมาใหม่
ที่มาและแรงบันดาลใจของโปรเจกต์สมุนไพรทับลาน: อำนาจ ท้องถิ่น และทุนนิยม13:19
ประมาณนี้แล้วกันนะครับ เดี๋ยวอาจจะกินเวลาเกินไป ก็คือถ้าเกิดฟังตัวกาพย์ ที่แต่งขึ้นมาใหม่มันสักคร่าวๆ เนี่ย น่าจะเข้าใจเบื้องต้นนะครับว่า
จริงๆ แล้วเนื้อหาโปรเจ็กต์มันเกี่ยวกับอะไร ก็คือจริงๆ งานเนี้ยนะครับ ก็คือว่าอย่างที่ฟิล์มบอกเลย คือจริงๆ โจทย์เราอ่ะ คือเราอยากจะใช้— ผมใช้คำว่า ขุดรีดศักยภาพของศิลปะเทคโนโลยีให้มากที่สุดนะครับ โดยการที่เราพยายามจะโฟกัส ที่เรื่องของปัญหาธรรมชาติเนาะ คือผมอยู่โคราช แล้วก็น่าจะตามข่าวกันก่อนหน้าเนี่ย มันจะมีข่าวเรื่องพื้นที่ทับซ้อน อุทยานทับลานอะไรเงี้ย แล้วเรารู้สึกว่าประเด็นนี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก เพราะว่าสำหรับเราอะ มัน มันเป็นเหมือนแบบ— มันแสดงถึงสัจธรรมของโลกใบนี้ ของจักรวาลนี้เลยด้วยซ้ำอะนะ
คือว่าเรารู้สึกว่าในเหตุการณ์ เหตุการณ์นี้อะครับ มันมีอยู่ 3 ตัวละครที่มันเกิดขึ้นมาก็คือ 1 คืออำนาจครับ 2 คือท้องถิ่น 3 ก็คือเรื่องของ เอ่อ ทุนนิยมอะไรอย่างเงี้ย เรารู้สึกว่าเออ 3 ปัจจัยนี้ การที่มันต้องมีคนที่มันต้องล้มตายแล้วก็เสียโอกาส ได้โอกาส มันคือสิ่งที่มันเกิดขึ้นอยู่ในรอบโลกตัวเราตลอดเวลาไรเงี้ยครับ เราก็เลยคิดว่าโอเค เราจะสามารถหาซิมโบลิกอะไรบางอย่าง ที่แบบมา represent ตรงส่วนนี้ได้มั้ยอะไรอย่างเงี้ยฮะ เราก็เลยเอา 3 อย่างนี้มาแทนที่ด้วย ใช้คำว่าตัวแทนเชิงเทคโนโลยีและศิลป์ละกันอะไรอย่างงี้เนาะ อำนาจอะครับ เราก็แทนมันด้วยทศกัณฐ์นะครับในรามเกียรติ์อะไรอย่างเงี้ยฮะ แล้วก็ทุนนิยมเราก็แทนมันด้วย technology ก็คือตัวหุ่นยนต์ที่เห็นที่มันรำอยู่อย่างเงี้ยครับ แล้วก็ท้องถิ่นแล้วก็แทนมาด้วย เอ่อ ตัวสมุนไพรจากที่ทับลานที่ไปเก็บตัวอย่างมาครับตรงนี้ อาจจะให้ฟิล์มอธิบายว่าผมก็ไม่ได้เวิร์คตรงส่วนโปรตีนอะไรอย่างเงี้ยเนาะ คือว่าประมาณนั้น คือ คือผมก็เป็น เป็นคนที่ทำตัว coding อะไรอย่างเงี้ยฮะ คราวนี้ก็ performance เนี่ย คือเราก็เวิร์คกับคนที่แต่งกาพย์เนาะ แล้วก็พยายามที่จะสื่อสารปัญหานี่แหละว่าจริงๆ แล้ว 3 อย่างนี้ มันคือปัจจัยที่มันต้องเก็บไว้อะ คือเรารู้สึกว่าอาร์ตอะ ข้อดีของมันคือมัน
มันไม่มีผิดไม่มีถูก และอีกอย่างหนึ่งคือ technology ข้อดีมันคือมัน timeless เรารู้สึกว่าเราสามารถเก็บข้อมูลเรื่องทับลานเนี่ย ซึ่งบางคนอาจจะลืมไปแล้วอะนะครับ ส่งไปต่ออีก 100 200 ปีข้างหน้าได้ แล้วเรารู้สึกว่าการที่เราเก็บทุกอย่างนี้ในรูปแบบของรามเกียรติ์และเทคโนโลยีอะ
รามเกียรติ์ เทคโนโลยี และการอนุรักษ์ข้อมูลสู่อนาคต15:35
มันคือเรื่องสำคัญเหมือนกัน เพราะว่า จากที่ผม discuss กับใครหลายๆ คนที่ศึกษารามเกียรติ์อะ เรารู้สึกว่ารามเกียรติ์มันคือสิ่งที่มันไม่น่าหายไปได้ง่ายๆ อะ มันฝังมาในสังคมไทยเราจนเราแยกมันไม่ออกแล้วอะครับ เรารู้สึกว่าเออเอาจริงๆ ในอนาคตอีก 100 200 ปี รามเกียรติ์ก็ไม่น่าหาย ถึงมันจะถูกแบบ decode แล้วก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น มันก็ยังมีรามเกียรติ์อยู่อะไรอย่างเงี้ย หรือแม้แต่ technology อย่างหุ่นยนต์เนี่ยครับ เรารู้สึกว่าการที่เราเก็บโค้ดนี้ไว้มันไม่น่าหายอะ สุดท้ายแล้วมันต้องมีคนมาฟื้นได้ เราจินตนาการ forward ไปอีกนานๆ ว่า โอเคสมมติว่าอีก อีก 1,000 ปีข้างหน้า
เอเลี่ยน เอ่อ โลกล่มสลาย เอเลี่ยนลงมาจอดที่ดาวดวงนี้มันก็ต้อง get ว่า อ๋อ นี่คือสิ่งที่แบบมนุษย์สร้างไว้เพื่อจะอธิบายความเป็นไปของจักรวาลใน perspective เรา
Quantum Art Thailand และการประยุกต์ใช้ DFT ในโปรเจกต์16:12
อะไรประมาณนี้ครับ ซึ่งจริงๆ มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยนิดนึงคือว่า จริงๆ โปรเจกต์นี้ครับ ทำตอนช่วงที่ผมทำโปรเจกต์ชื่อว่า Quantum Art Thailand อะครับ คือเราพยายามจะเวิร์ค— แบบ จริงๆ มันเริ่มจากที่มาเลเซีย มาเลเซียติดต่อมาแบบว่า เออเขาอยากจะทำให้แบบควอนตัมเข้าถึงคนได้ง่ายอะไรอย่างเงี้ย รู้สึกว่าเออมาทำควอนตัมอาร์ตกันมั้ยอะไรอย่างเงี้ยครับ ยิ่งชวนเลยนะใครอยากทำควอนตัมอาร์ตติดต่อ... (หัวเราะ) ก็พอทำช่วงเวลาเดียวกันเนี่ย เราก็เลยถาม เอ่อ นักฟิสิกส์ที่ ที่รู้จักกันน่ะครับว่า เออ ไอ้โปรเจกต์นี้มันพอจะทำอะไรได้บ้างไหม เพราะว่าคืออย่างงี้ครับ หลักการเนี่ยเราใช้กล้องเนอะในการ detect pose ท่าทางท่ารำของนักแสดง แล้วเราก็เอา pose เนี่ยที่เป็นคนน่ะครับ มา interpret เป็นท่ารำของหุ่นยนต์ไรเงี้ย ซึ่งไอ้ข้อมูล ไอ้การ interpret เนี่ย มันคือ freedom เรา เราจะทำอะไรก็ได้ใช่ป่ะ คราวนี้เราก็เลยไปรู้จักกับศาสตร์ที่เรียกว่า DFT ซึ่งคืออะไร ให้ฟิล์มอธิบาย มันแบบคือก็คือเหมือนแบบว่า น่าจะหา interaction ระหว่างโมเลกุล ในแบบควอนตัมแมคคานิกส์ อะไรสักอย่างใช่มั้ย ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดอะไรประมาณนั้นน่ะ แล้วก็เอาค่านั้นแหละครับ แล้วก็ใช้ AI ในการ interpret ข้อมูลมาเป็น เป็นท่ารำของหุ่นยนต์ ประมาณนี้ฮะ นี่คือสโคปสั้นๆ เลยของโปรเจกต์นี้
บทสรุป: วิทยาศาสตร์ ศิลปะ และประวัติศาสตร์ กุญแจไขปัญหาโลก17:20
ครับ ก็มาถึงช่วงท้ายของทอล์กแล้วนะครับ ก็เอ่อผมก็ในฐานะเด็กคนนึง
high school track คนนึงแล้วกันนะครับ คือผมก็อยากจะบอกเป็น key message ว่า เอ่อ ในบางจุดบางปัญหาของโลกนี้อะครับ
ที่มันจะเปลี่ยนเป็น turning point ของโลกเนี่ย บางทีครับกุญแจที่ใช้ไขรหัสอ่ะ มันอาจจะไม่ใช่เป็นวิทยาศาสตร์ก็ได้ครับ บางทีมันอาจจะเป็นเลนส์ของประวัติศาสตร์ และเลนส์ของศิลปะ ในการไขรหัส หรือไขปัญหาบางข้อ
เพื่อที่จะทำให้รากฐานคำว่าวิทยาศาสตร์มัน fulfill และ มันจะทำให้วิถีชีวิตของพวกเรามันมีประสิทธิภาพและยั่งยืนได้ครับผม งั้นวันนี้ผมก็ขออนุญาตจบทอล์กนะครับผม ขอบคุณมากครับ (เสียงปรบมือ)