Videos → Thailand Web Landscape 2024
Description
มาสำรวจภูมิทัศน์เว็บไซต์ในประเทศไทยปี 2023 กับผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกกว่า 11,700 เว็บไซต์! พบกับข้อมูลสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้งานบนเว็บไทย ไม่ว่าจะเป็น PHP, React, jQuery หรือ WordPress พร้อมเจาะลึกประเด็น Web Vitals, Lighthouse score และ best practice ที่เว็บไทยควรปรับปรุง มาร่วมรับฟังข้อมูลเชิงลึกและแนวโน้มของวงการพัฒนาเว็บในไทย และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาฐานข้อมูลเว็บไซต์ไทยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในปีต่อๆ ไป
Chapters
- แนะนำ Thailand Web Landscape โปรเจคสำรวจเว็บไทย 0:00
- ที่มาของโปรเจคและวิธีการเก็บข้อมูลเว็บไซต์ 0:19
- วัตถุประสงค์ของโปรเจค: วิเคราะห์ประสิทธิภาพและเทคโนโลยีที่ใช้สร้างเว็บ 0:49
- แหล่งที่มาของรายชื่อเว็บไซต์ที่ใช้ในการสำรวจ 1:05
- จำนวนเว็บไซต์ที่ใช้ในการทดสอบทั้งหมด 1:24
- ผลการทดสอบ Web Vitals บนมือถือ: คะแนนแย่มาก 1:49
- สาเหตุที่ Web Vitals บนมือถือดูแย่: อินเทอร์เน็ตจำลองช้า 2:42
- การกระจายตัวของคะแนน Web Vitals บนมือถือ: ส่วนใหญ่ช้า 3:03
- ผลการทดสอบ Web Vitals บน Desktop: คะแนนดีมาก 3:45
- การกระจายตัวของคะแนน Web Vitals บน Desktop: ส่วนใหญ่เร็ว 4:07
- ผลการทดสอบ Lighthouse: คะแนนเฉลี่ยของเว็บไทย 4:36
- สิ่งที่ทำให้เว็บไซต์ไทยโหลดช้าบนมือถือและ Desktop 5:12
- HTTPS, notification, cookie และ error 6:34
- SSL Provider ที่นิยมใช้ในเว็บไทย: Let's Encrypt ครองตลาด 7:15
- PWA: 10% ของเว็บไซต์ไทยรองรับแล้ว 7:30
- SEO: ปัญหาของเว็บไทยคือ Canonical, Description และ robots.txt 7:51
- Tech Stack ฝั่ง Backend: PHP ยังครองตลาด 8:12
- Frontend War: React ชนะ Vue และ Angular 8:51
- jQuery ยังคงถูกใช้อย่างแพร่หลายในเว็บไทย 9:28
- ไลบรารี่และเครื่องมือยอดนิยมอื่นๆ ที่ใช้ในเว็บไทย 10:00
- Service Worker และการรองรับ Legacy Browser 10:24
- Firebase, Gatsby, TypeScript และอื่นๆ 10:56
- Widget ยอดนิยม: Google Font, Font Awesome และ AMP 11:23
- Facebook Login, Google Tag Manager และ reCAPTCHA 11:37
- CMS: WordPress ครองตลาด 15% 11:54
- Web Server: Apache และ Nginx 12:08
- Cloud Provider: AWS, Google Cloud และ DigitalOcean 12:28
- Server Location: 17% อยู่ในไทย 12:55
- Email Provider: Microsoft ชนะ Google 13:05
- E-commerce Site: WooCommerce ครองตลาด 13:24
- CrUX และ Cloudflare Radar 13:42
- Third-Party JavaScript: Google ครองตลาดโฆษณาและ Analytics 14:14
- Social Script: Facebook, Twitter และ TikTok 15:07
- สรุปผลการสำรวจและข้อจำกัด 15:23
- อนาคตของ Thailand Web Landscape และการขอความร่วมมือ 16:27
- ดาวน์โหลดรายงานและขอบคุณ 17:05
Transcript
คำบรรยายต่อไปนี้อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด หากคุณพบข้อผิดพลาดใดๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดได้บน GitHub
แนะนำ Thailand Web Landscape โปรเจคสำรวจเว็บไทย0:00
ต้องบอกว่าตัวผมรักโปรเจคนี้มากครับ เป็นฝันของผมเลยที่อยากจะทำให้มันเกิดในประเทศไทย ต้องบอกก่อนว่าไม่เคยมีใครเห็นสไลด์เวอร์ชันนี้มาก่อนครับ เราเห็นพร้อมกันทุกคนครับ คนจัดงานทุกคนผมเก็บเป็นความลับทั้งหมด ช้างไม่มีสิทธิ์ได้เห็นสไลด์ก่อนครับ
ที่มาของโปรเจคและวิธีการเก็บข้อมูลเว็บไซต์0:19
เราจะเห็นไปพร้อมๆ กันครับว่าเว็บไซต์ในไทยเนี่ย เมื่อกี้เรา survey เนาะว่าคนใช้นั่นใช้นี่เป็นแบบจากคน อันเนี่ยเป็น field data ของจริงครับ โปรเจค Thailand Web Landscape เนี่ยมันเกิดจากไอเดีย ของผมที่มองว่าในเมืองนอกเนี่ย ตัว Web Archive เนี่ยครับ เค้าเอา list ของเว็บไซต์ทั่วโลกครับ ไป run PageSpeed กับ run Lighthouse
แล้วผมก็รู้สึกว่าทำไมเราไม่ทำของเราเองวะ
ผมก็เลยคิดโปรเจคขึ้นมาที่จะเอาเว็บไซต์ในไทยอ่ะครับ ให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ run PageSpeed และ run
วัตถุประสงค์ของโปรเจค: วิเคราะห์ประสิทธิภาพและเทคโนโลยีที่ใช้สร้างเว็บ0:49
Lighthouse และ run สิ่งที่เรา build with ครับ เพื่อดูว่าเว็บนั้นสร้างด้วยอะไร score PageSpeed เป็นยังไง แล้วก็มี best practice ข้างในยังไงบ้างครับ โอเคเราไปดู result กันเร็วๆ เลยครับ
แหล่งที่มาของรายชื่อเว็บไซต์ที่ใช้ในการสำรวจ1:05
ต้องบอกก่อนว่าเว็บไซต์ list ทั้งหมดเนี่ยครับ วันนี้เราได้ list หลักๆ มาจาก Truehits เอ่อตัวบริษัทที่อยู่ใน SET นะครับ แล้วก็สมาคมสื่อออนไลน์แห่งประเทศไทยนะครับ
แล้วก็มี crowdsourcing ที่มาจาก GitHub นะครับ แล้วก็มีจาก Thailand Startup Association นะครับ
จำนวนเว็บไซต์ที่ใช้ในการทดสอบทั้งหมด1:24
รวมกันทั้งหมดเนี่ย 2,144 เว็บไซต์
แล้วผมก็ run algorithm ในการ extend ไอ้ X เหมือนแบบเป็น expand ตัว URL มันออกไปอีก เพื่อเอาเป็นหน้าย่อยๆ นะครับ รวมทั้งหมดเนี่ยวันนี้เรา test กันทั้งหมด 11,700 เว็บไซต์ ซึ่งมันค่อนข้างวุ่นเหมือนกันเพราะว่ามันเป็นการ run script ครั้งแรก ต้องบอกว่าผลเนี่ยเพิ่ง run เสร็จเมื่อวันจันทร์ ที่แล้วนะครับ
ผลการทดสอบ Web Vitals บนมือถือ: คะแนนแย่มาก1:49
โอเคเรามาดูอย่างแรกกันเลยครับ Google promote Web Vitals เนาะทุกคน run PageSpeed คงเห็น Web Vitals ครับ เรามาดู Web Vitals เฉลี่ยในประเทศไทยกันบ้างครับ
สำหรับ mobile แย่มากครับ ในไทย score Web Vitals แย่มากๆ นะครับ Largest Contentful Paint นะครับอยู่ที่ 12 วินาที First Input Delay อยู่ที่ 0.53 วินาที คือติดแดงหมดเลยนะครับ First Contentful Paint อยู่ที่ 4.32 วินาทีนะครับ Cumulative Layout Shift เดี๋ยวทุกคนไปอ่าน Web Vitals นะครับว่าตัวเลขแต่ละอันคืออะไรนะครับ 0.12 วินาทีครับ Time to First Byte คือ speed ของการเรียกจาก อินเทอร์เน็ตไปที่ server เนี่ย 0.75 วินาที ซึ่งติดอยู่ในเกณฑ์เขียวนะครับ สุดท้ายคือ Time to Interactive คือเว็บ full load คือ JavaScript ทุกตัว load เสร็จหมดนะครับ 16 วินาทีครับบนมือถือ นี่คือบนมือถือนะครับ
สาเหตุที่ Web Vitals บนมือถือดูแย่: อินเทอร์เน็ตจำลองช้า2:42
คำถามคือทำไมมันดูแย่จังนะครับ ต้องบอกว่า PageSpeed เนี่ยใช้วิธีการคิดแบบ เอาอินเทอร์เน็ต 4G 3G slow อ่ะครับ run
เพราะฉะนั้นเนี่ยเว็บมันจะแย่มากๆ แล้วการจะทำให้มันเขียวได้เนี่ย แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นเนี่ยมันเลยดูแย่มากๆ นะครับ
การกระจายตัวของคะแนน Web Vitals บนมือถือ: ส่วนใหญ่ช้า3:03
โอเค ดู distribution มั่งครับ จะเห็นว่า 41% 45% เนี่ยอยู่รวมๆ เนี่ย 90 กว่า เกือบๆ 90% เนี่ยอยู่ในเกณฑ์ slow กับ medium นะครับ ซึ่งคือช้ามากๆ สำหรับมือถือ ซึ่งผมไม่ค่อยแปลกใจเท่าไหร่เพราะว่าประเทศไทยเนี่ย เราอินเทอร์เน็ตค่อนข้างเร็วติด top ของเอเชียนะครับ เพราะฉะนั้นเนี่ยเราอาจจะรู้สึกว่าโอ๊ยมือถือช่างมันเถอะ ยังไงเราก็ไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ต speed นั้นอยู่แล้ว ถามหน่อยว่าในประเทศไทยมีใครใช้อินเทอร์เน็ต speed แบบ 3G speed ซึ่งย้อนกลับไปดูเนี่ยตาม Google เนี่ย คือเน็ตแค่ 1 Mbps อ่ะครับ
ซึ่งเราไม่ได้ใช้เน็ต speed นั้นมานานมากๆ แล้ว ก็ไม่แปลกที่ทำไมมันช้านะครับ
ผลการทดสอบ Web Vitals บน Desktop: คะแนนดีมาก3:45
พอมาดู desktop บ้างครับ เขียวและเหลืองหมดเลยครับ LCP 3.4 วิ FID 0.14 FCP 1.63 CLS 0.12
Time to First Byte โหดมากนะครับ request จากอินเทอร์เน็ตไป server 0.3 วินาทีนะครับ และ Time to Interactive คือเว็บ load เสร็จ แบบเต็มร้อยเนี่ยแค่ 3.8 วินาทีนะครับ
การกระจายตัวของคะแนน Web Vitals บน Desktop: ส่วนใหญ่เร็ว4:07
นี่คือเว็บของไทยนะครับ distribution เนี่ยจึงอยู่ที่ อ้อสีผิด มีบางอันสีผิดนะครับโทษที จริงๆ แล้ว fast เนี่ยเรา fast มันคือสีแดงนะครับโทษที
fast กับ average เนี่ยรวมกันเนี่ย ค่อนข้างเยอะมากๆ นะครับ
จะเห็นว่า slow เนี่ยเราแค่ 30% เอง ซึ่งน้อยมากๆ นะครับ เทียบกับเมื่อกี้ซึ่งแบบทะลุไป 90% นะ
ผลการทดสอบ Lighthouse: คะแนนเฉลี่ยของเว็บไทย4:36
Lighthouse บ้างครับ ทุกคนคงเคย run PageSpeed เนาะ average ครับ นี่คือ Lighthouse average score ของประเทศเราครับ
performance 71 ครับบน desktop 49 บน mobile ใครทำต่ำกว่านี้คือตัดต่ำ mean นะครับ ต่อไปนี้ทุกคนรู้แล้วนะครับใครถามว่า average อยู่ที่เท่าไหร่นี่คือ average ของประเทศครับ PWA 30 ครับ SEO 84 ครับ best practice อยู่ประมาณ 86 ประมาณนี้ครับ อย่างอื่นเหลืองๆ นะครับ ผมไม่ลงรายละเอียดแบบทีละ เดี๋ยวผมจะลงรายละเอียดทีละอันแล้วกันนะครับ
สิ่งที่ทำให้เว็บไซต์ไทยโหลดช้าบนมือถือและ Desktop5:12
คราวนี้ในสาย performance อ่ะเรามาดูหน่อยว่า เว็บไทยเนี่ยเสียเวลากับการ load อะไรไปบ้างครับ อันนี้บน mobile เนี่ยครับเราเสียเวลาเฉลี่ย ประมาณ 31 วินาทีครับ 7 วินาทีให้ JavaScript แล้วกันคิดง่ายๆ
6.9 วินาทีให้อิมเมจที่ไม่ใช่ WebP
ง่ายเลยครับอิมเมจที่เป็น JPEG กับ PNG เนี่ย เราหมดเวลาไป 6.9 วินาที 4.6 วินาทีกับเวลาของการที่เรา ship อิมเมจ ไซส์ใหญ่กว่าที่เราใช้บนหน้าเว็บ เช่นอิมเมจมัน 20 พิกเซลแต่เรา ship อิมเมจ 100 พิกเซลขึ้นไปนะครับ 3.8 for JS 3.2 for unused JS ซึ่งเกิดจากการแบบพวก build tool นะครับ 2.6 พวก render-blocking 2 วิกับสิ่งที่ไม่ใช่ lazy load นี่บนมือถือนะครับ 2 วิกับสิ่งที่ไม่ใช่ lazy load 0.8 สำหรับ unused CSS 0.3 สำหรับ redirect
0.27 สำหรับ GIF ครับ
0.15 สำหรับ non-minified CSS กับ JS ยังมีเว็บที่ไม่ยอม minify CSS กับ JS อยู่นะครับ บนโลกนี้นะครับ แต่พอเป็น desktop เนี่ย ก็ลดลงไปเยอะมากๆ เราเสียเวลาลดลงเหลือแค่ 6 วินาทีนะครับ หลักๆ เนี่ยก็เหมือนกันครับไม่ค่อยต่างอะไรกันมากนะครับ จะเห็นว่าบน desktop อ่ะพวกเราอ่ะทำได้ค่อนข้างดีนะครับ
HTTPS, notification, cookie และ error6:34
คราวนี้ครับ มาดูฝั่ง best practice บ้างครับ มีเว็บ 24.5% ไม่ support HTTPS ครับ
0.7% ถาม notification permission ตอนเปิดเว็บครับ ไม่ต้องถามเลยว่าเว็บประเภทไหนนะครับ เว็บข่าวแน่นอนเข้ามารับ noti มั้ย กูไม่รับนะครับ
10% นะครับยังต้องใช้ third-party cookies ซึ่งจะ deprecated แล้วปีนี้นะครับยังเหลืออีก 10% นะครับ 55% นะครับของเว็บไซต์มี error อยู่ใน console นะครับ
SSL Provider ที่นิยมใช้ในเว็บไทย: Let's Encrypt ครองตลาด7:15
SSL provider นะครับ Let's Encrypt ยังกินขาดอยู่นะครับ Cloudflare SSL นะครับ ซึ่งน่าจะเป็นเว็บที่ว่าไปผ่าน Cloudflare นะครับ ก็ลองลงมานะครับ โทษทีสไลด์ผมลืมใส่ label เดี๋ยวไปอัพเดตในตัว report อีกทีนะครับ
PWA: 10% ของเว็บไซต์ไทยรองรับแล้ว7:30
PWA ครับ
10% ของเว็บไซต์บนประเทศไทย support PWA แล้วครับ
200 origin นะครับ support PWA ไม่น้อยนะครับ เยอะระดับที่เรารู้สึกว่าโหมันโอเคมากๆ เลย คือคิดง่ายๆ ว่าเราเข้าไปแล้วกด add to homescreen ได้ 10% แล้วนะครับบนเว็บไซต์บนประเทศนี้นะครับ
SEO: ปัญหาของเว็บไทยคือ Canonical, Description และ robots.txt7:51
SEO บ้างครับ 97% เปิดให้ bot เข้าไปนะครับ อันนี้ไม่แปลกใจนะครับ non-canonical นะครับ เป็นเว็บที่ไม่มี canonical เนี่ยสักครึ่งนึง แล้วก็ลืมใส่ description meta สักครึ่งนึงนะครับ ไม่มี robots.txt อีก 30% นะครับ 1 ใน 3 จะเห็นว่าก็ยังมีเว็บอีกเยอะเลยนะครับ ที่ทำ practice เรื่อง SEO ได้ยังไม่ค่อยดีมากนะครับ
Tech Stack ฝั่ง Backend: PHP ยังครองตลาด8:12
tech stack ครับ มาถึง tech stack ขอเร็วๆ หน่อย เดี๋ยวจะกินเวลา speaker ท่านอื่นครับ tech stack เนี่ยเป็นส่วนที่เรา Build with เข้าไป run นะครับ ที่ผ่านมาเนี่ยเป็นของ PageSpeed นะครับ
ภาษา PHP ยังกินขาดอยู่นะครับ 31%
ASP.NET 11% นะครับ
Node.js 8% นะครับ Java EE, Rust, Ruby on Rails นะครับ ยัง under 1% อยู่ทั้งหมดนะครับ PHP ก็ยังครองอยู่นะครับ ต้องอย่าลืมว่ามันมีเว็บ legacy เหลืออยู่เนาะ มันไม่ใช่แค่เว็บใหม่ๆ อย่างเดียวนะครับ
Frontend War: React ชนะ Vue และ Angular8:51
frontend war ครับ จบแล้วครับ
React ชนะครับ 9.3% บนเว็บ อันนี้ไม่ใช่ 9.3% ของ 3 ตัวนี้นะครับ 9.3% บนเว็บไทยเป็น React ครับ 3.7 เป็น Vue ครับ 2.8 เป็น Angular ครับ แล้วถ้ารวม combine 3 อันเนี้ยครับ มีประมาณ 15% ครับที่ใช้ modern framework กลุ่มนี้ครับ
jQuery ยังคงถูกใช้อย่างแพร่หลายในเว็บไทย9:28
44% ใช้ jQuery อยู่นะครับ แล้วก็ครึ่งนึงในของ 44% เนี่ยใช้ jQuery UI งงเหมือนกันใช้ทำไมนะครับ แต่โอเคไม่เป็นไรใช้นะครับ GSAP นะครับ เป็น top lib สำหรับ animation อยู่นะครับ คิดว่าน่าจะติดมากับ lib บางตัวนะครับ Bootstrap เจอใน 13% ของเว็บไทยนะครับ ขัดกับเมื่อกี้นิดหน่อยที่บอกว่า Tailwind สูงที่สุด น่าจะเป็นแบบของที่ฉันอยากใช้นะครับ แต่ของที่มีอยู่เยอะอยู่นะครับ Webpack 9% นะครับ Owl Carousel เป็น top carousel lib นะครับ ที่คนเลือกใช้อยู่นะครับตอนนี้
ไลบรารี่และเครื่องมือยอดนิยมอื่นๆ ที่ใช้ในเว็บไทย10:00
Lodash, Underscore นะครับ
user ใช้ Lodash ครึ่งนึงแล้วก็ Underscore ครึ่งนึงนะครับ Fancybox ก็ยังเป็น top choice ของ modal ที่เด้งอยู่ดีนะครับ
ถ้าใครไม่ทราบนะครับ เรามี native ให้ใช้แล้วนะครับ ชื่อ dialog element นะครับ ไม่ต้องใช้ Fancybox แล้วนะครับ เปลืองเครื่องนะครับ
Service Worker และการรองรับ Legacy Browser10:24
0.04% ของเว็บไซต์นะครับ offline ได้ครับ ใช้ service worker 99% ในนั้นใช้ Workbox ครับ ก็คือเท่ากับไม่มีใครเขียนเองเลยครับ service worker นะครับ มีเว็บ 15% ครับที่มีความพร้อมในการรองรับ legacy browser ผมดูจากพวก Modernizr ดูจากพวก polyfill, Babel อะไรพวกเนี้ยครับ รวมๆ แล้วประมาณไม่เกิน 15% นะครับ ที่สามารถเปิดด้วย IE 11 ได้นะครับ ก็ยังมีเว็บอีก 15% บนประเทศนะครับที่สนใจ IE นะครับ
Firebase, Gatsby, TypeScript และอื่นๆ10:56
ในขณะที่คนทั้งโลกไม่มีใครสนใจแล้วนะครับ 24 เว็บไซต์เราเจอ Firebase อยู่บนนั้นนะครับ 19 เว็บไซต์ใช้ Gatsby นะครับ 11 เว็บไซต์ใช้ TypeScript นะครับ 15 เว็บไซต์ใช้ Material UI นะครับ 15 เว็บไซต์ใช้ Apollo นะครับ ไม่แน่ใจว่าแก๊งค์เดียวกันรึเปล่า แล้วก็มีแค่ 6 ไซต์เท่านั้นครับที่ใช้ Tailwind
ยังน้อยอยู่นะครับ
Widget ยอดนิยม: Google Font, Font Awesome และ AMP11:23
ฝั่ง widget บ้าง 31% ของเว็บไทยใช้ Google Font ครับ 25% ใช้ Font Awesome ครับ โอ้โหคนใช้เยอะมากนะครับ 5% เป็น AMP นะครับ มันยังไม่ตายนะมันยังเหลือถึง 5% นะครับ
Facebook Login, Google Tag Manager และ reCAPTCHA11:37
13.5% มี Facebook Login อยู่ในเว็บครับ ไม่รู้ใส่ทำไมนะฮะ 31% ของเว็บไซต์เนี่ยใช้ Google Tag Manager นะครับ แล้วก็ 12% ใช้ reCAPTCHA นะครับ
จะเห็นว่ามันมี lib บางตัวที่แบบ Google Font เนี่ย ต่อไปผมว่า build ลงมาใน Chrome เลยใช้เยอะขนาดเนี้ยนะฮะ
CMS: WordPress ครองตลาด 15%11:54
พวก CMS บ้างครับ 15% เป็น WordPress ครับ 15% ของเว็บไซต์ในไทยนะครับ 3% เป็น Joomla แล้ว 2% เป็น Drupal นะครับ รวมๆ แล้วเนี่ย combine ประมาณ 20% นะครับในเว็บ ในเว็บไทยที่เป็น CMS นะครับ
Web Server: Apache และ Nginx12:08
ซึ่งแอบขัดกับ stat ของโลกนิดนึง โลกเราตอนนี้อยู่ประมาณ 40 กว่าๆ 50 นะครับ ซึ่งค่อนข้างเยอะกว่านี้นะครับ เว็บเซิร์ฟเวอร์เป็น Apache ครับใช้เยอะครับ 25%
รองลงมานิดหน่อย gap เล็กอยู่นะครับคือ Nginx นะครับ แล้วก็ IIS เนี่ยก็ 12% นะครับ ก็น่าจะเป็นแก๊งค์คนใช้ ASP เมื่อกี้นะครับ
Cloud Provider: AWS, Google Cloud และ DigitalOcean12:28
Cloud provider ครับ พวก dedicated ยังเยอะอยู่ก็จริงนะครับ แต่ว่าถ้าถามเอา cloud provider ที่มันเป็นแบบ global ก็จะเป็น AWS Google Cloud DigitalOcean ขอโทษ Microsoft ด้วยนะครับ DigitalOcean ยังชนะ Azure นะครับ สุดยอดนะฮะ Azure 1.49 นะครับ
Vercel โอ้โห Vercel อย่างชนะ Azure นะครับ นำไปติดๆ นะฮะ สุดยอด Huawei Cloud 0.23 นะครับ
Server Location: 17% อยู่ในไทย12:55
แล้วก็มีแค่ 17% เท่านั้นนะครับที่ server location อยู่ในประเทศไทย ที่เหลือก็อยู่นั่นแหละครับ สิงคโปร์ ไต้หวัน อินโดอะไรอย่างเงี้ยปนๆ กันไปนะครับ
Email Provider: Microsoft ชนะ Google13:05
Email provider ผมก็แกะออกมาครับ คนยังใช้ server ของตัวเองประมาณ 32% นะครับ แล้วก็ถ้าถามว่า main majority ที่ compare ระหว่าง Google กับ Microsoft ก็ต้องบอกว่า Microsoft ชนะนะครับ ซึ่งก็ดูแปลกใจเหมือนกัน แต่ก็บี้กันอยู่ใกล้กันมากนะครับ แล้วก็ตามมาด้วย Google นะครับ
E-commerce Site: WooCommerce ครองตลาด13:24
E-commerce site เป็น WooCommerce ซะ 67% จาก e-commerce site ทั้งหมดนะครับ combine ทั่วไทยเนี่ยเรามีประมาณ 5% ของเว็บไซต์นะครับ ที่เป็น e-commerce นะครับ แล้วก็นอกนั้นก็เป็น VirtueMart, OpenCart แล้วก็ Magento แล้วก็ทำเองนะครับ ก็ยังมีมนุษย์ทำเองอยู่ 20% เหมือนกันนะครับจากทั้งหมดนี้
CrUX และ Cloudflare Radar13:42
ปกติเนี่ย Google และ Cloudflare จะ monitor เว็บอยู่กลุ่มนึงครับ ซึ่งเป็นเว็บที่เค้าจะเหมือนแบบ monitor score แล้วเอาไปทำนู่นทำนี่นะครับ ซึ่งเราเรียกกันว่า CrUX นะครับ แล้วก็เรามีอยู่ประมาณ 800 เว็บไซต์ที่อยู่ใน CrUX นะครับ แล้วก็ 290-300 เว็บไซต์อยู่ใน Cloudflare Radar นะครับ ก็ลดหลั่นกันลงไปเนี่ย เรามีเว็บ top หมื่นเนี่ยอยู่ประมาณแค่ 21 เว็บนะครับ ฝั่ง Cloudflare Radar เนี่ย เรามีเว็บ top 50,000 อยู่ประมาณ 35 เว็บนะครับ ไอ้สไลด์เนี้ยไอ้ตัว JS เนี่ย มันเลื่อนทุกรอบเลยนะครับที่ present ไม่เป็นไรครับ
Third-Party JavaScript: Google ครองตลาดโฆษณาและ Analytics14:14
โอเคฝั่ง JS third-party แล้วกันนะครับใกล้จบแล้วนะครับ เรามีประมาณ 14 type นะครับของ third-party ที่แปะๆ ไป รวมๆ แล้วประมาณ 400 กว่า script ได้นะครับ
อันนี้จะ page speed นิดนึง ต้องบอกว่า top advertising script เนี่ย ไม่ต้องถามเลยครับ Google ครับ 45% ของเว็บในไทย ติด script Google ครับ
และแซงอันดับ 2 อย่าง Trade Desk หรือ Yahoo ไป 3.5 เท่าครับ
ฝั่ง analytic script ครับ Google Analytics 55% ซึ่งก็แปลกใจนิดหน่อยคือยังมีเว็บต้องเกือบเป็นครึ่งเลยเหรอ มันที่ไม่ติด Google Analytics ซึ่งโอเค มันอาจจะมีสิทธิ์ผิดพลาดนิดหน่อยนะครับ แต่นี่ก็เป็น trend ว่าแบบ 55 นะครับ แล้วก็เจ้าที่ 2 คือ Quantcast เนี่ย 7 กว่าเปอร์เซ็นต์เอง นะครับซึ่งน้อยมากๆ นะครับ
Social Script: Facebook, Twitter และ TikTok15:07
Social script ที่เราแปะๆ กันนะครับ Facebook นำนะครับ Twitter ต่อมา จะเห็นว่า TikTok เนี่ย 5.22% เลยนะครับ ที่เราเอาพวกเว็บเอาพวกไอ้คลิปไป embed ในเว็บนะครับ ซึ่งก็เป็นปริมาณที่เยอะเหมือนกันนะครับ สำหรับแบบ social script นะครับ
สรุปผลการสำรวจและข้อจำกัด15:23
ทุกคนคงจะเห็นแล้วว่าโอเคมันมี stat ที่แบบ อาจจะขัดใจบางอันผมก็ขัดใจนะ แต่อย่างแรกคือเรามีเว็บ list อยู่ประมาณแค่ 2,000 เว็บ ในปีนี้นะครับ หมื่นกว่า URL รวมถึง server ก็ผมก็ run ในเครื่อง local เพราะว่ามีแบบเอา Firebase run ช่วยด้วยอะไรเงี้ยครับ ก็ผมคิดว่าอันนี้เป็นจุดเริ่มครับ ของ Thailand Web Landscape ปีนี้ ก็คือปี stat ของปี 2023 นะครับ
ปี 2024 เนี่ยเราคิดว่ามันจะดีขึ้นแน่นอนนะครับ
สิ่งนึงที่เราเห็นในปีที่ผ่านมาคือจริงอยู่ครับ modern เริ่มมาทางฝั่ง developer เนี่ย adopt และแต่เรายังเห็นว่า legacy เนี่ยยังอยู่เต็มเลยครับ PHP WordPress จะเรียกว่าไม่อยากพูดว่า WordPress legacy นะ ก็ไม่ได้ legacy ขนาดนั้นครับ เรายังเห็น PHP เราเห็น IIS เราเห็นอะไรหลายๆ อย่างที่ไม่ใช่ modern stack แบบ Node React Next.js Nuxt.js อะไรอย่างเงี้ยทั้งหมดนะครับ
ทั้งหมดเนี้ยมันก็ค่อยๆ โตขึ้นนะครับ แล้วก็ legacy ก็ยังอยู่ นั่นเป็นสิ่งที่เรา learn ในปีนี้นะครับ
อนาคตของ Thailand Web Landscape และการขอความร่วมมือ16:27
ปีหน้าผมสัญญาว่ามันจะดีขึ้นครับ ผมสัญญาว่ามันจะละเอียดขึ้น เว็บจะเยอะกว่านี้ขึ้น สิ่งนึงที่ผมอยากให้ทุกคนช่วยคือนี่คือ repo ครับ เพิ่ม URL ให้หน่อยครับ ช่วยกันเพิ่ม URL ครับ ช่วยกันเพิ่มให้มันเกิน 2,000 ครับ และผมสัญญาว่ามันจะละเอียดและแม่นกว่านี้ครับ
ตอนนี้ผมแบบต้อง automatic scraping เท่านั้น เพราะว่าไม่มีเวลามากพอ 2,000 เว็บนี่ก็คิดว่าน่าจะ cover บริษัทใหญ่ๆ หมดแล้วนะครับ เพราะฉะนั้นแล้วฝากด้วยนะครับสำหรับปีหน้า แล้วผมสัญญาว่ามันจะดีขึ้นครับ
ดาวน์โหลดรายงานและขอบคุณ17:05
ใครอยากได้ report ดาวน์โหลดได้เลยครับ นี่เป็นที่แรกที่ทุกคนจะได้แล้วก็ออนไลน์นะครับ หลังจากนี้ผมอาจจะมีบทความที่เขียนสรุปอีกครั้งนะครับ แต่ก็ขอขอบคุณทุกคนนะครับ ที่มาเป็นสักขีพยานกับการเปิด score ทั้งหมด เปิดผลทั้งหมดนะครับของปีของ Thailand Web Landscape ประจำปี 2023 นะครับ ขอบคุณมากๆ ครับขอบคุณทุกคนครับ ขอบคุณพี่ตั้งด้วยนะครับ ก็เรียกได้ว่าเราได้ insight ที่น่าสนใจมากๆ เลยนะครับ สำหรับตัว Thailand Web Landscape นะครับผม เดี๋ยวสำหรับ session ต่อไปนะครับผม เดี๋ยวขอเชิญพี่เป้มา set up คอมนิดนึงนะครับ