Videos → Thailand Developer Survey 2024
Description
มาดูผลสำรวจ Thailand Web Developer 2024 กันว่า developer ไทยส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีอะไรกันบ้าง พบกับฟนจาก Women Techmakers ที่จะมาเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกจากผลตอบรับกว่า 274 คน ครอบคลุมตั้งแต่ข้อมูลประชากรศาสตร์ เพศ อายุ รายได้ ไปจนถึงเทคโนโลยี frontend และ backend ยอดนิยม ไม่ว่าจะเป็น React, TypeScript, Vite, PostgreSQL และอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงมุมมองเกี่ยวกับความพึงพอใจในอาชีพและปัจจัยในการเลือกงาน มาร่วมอัพเดทเทรนด์เทคโนโลยีและสำรวจข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับวงการ web development ในไทยไปพร้อมๆ กัน
Chapters
- เปิดงานและแนะนำตัว Women Techmakers 0:00
- ผลสำรวจ Thailand Web Developer 2024: ภาพรวม 0:35
- กลุ่มตัวอย่าง: อายุและเพศ 1:10
- ความหลากหลายในวงการ Tech 2:28
- ที่ตั้งของนักพัฒนาและการกระจายตัว 2:51
- รายได้ต่อเดือนของนักพัฒนาเว็บ 3:46
- ประสบการณ์ทำงานและขนาดทีม 4:43
- ชาวต่างชาติในทีมและชื่อตำแหน่ง 6:14
- เทคโนโลยี Frontend: TypeScript และ Framework 7:06
- UI Framework, CSS, และ Build Tools 9:07
- Test Tools และ Data Layer ของ Frontend 10:49
- Backend: PHP, Python, และ JavaScript 11:37
- ภาษาอื่นๆ: ASP.NET, .NET Core, Ruby, Java, Golang 13:11
- ฐานข้อมูลยอดนิยม: PostgreSQL และ MySQL 14:14
- Cloud Service: AWS, Azure, Google Cloud 14:41
- Text Editor ยอดนิยมและ GitHub Codespaces 15:19
- คำแนะนำเครื่องมือและภาษาอื่นๆ: Rust, Copilot 16:05
- สรุปผลสำรวจและช่องทางการเผยแพร่ 17:17
- ความพึงพอใจในอาชีพนักพัฒนา 17:35
- ปัจจัยในการเลือกงานและองค์กร 18:43
- สรุปและปิดท้าย 19:41
Transcript
คำบรรยายต่อไปนี้อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด หากคุณพบข้อผิดพลาดใดๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดได้บน GitHub
เปิดงานและแนะนำตัว Women Techmakers0:00
ฮัลโหล เป็นบ่ายที่ตื่นเต้นมากๆ นะครับ
ใช่ค่ะ สดมากเลยค่ะ ก็ขอเริ่มต้นแนะนำตัวก่อนนะคะ ก็ชื่อฟนค่ะ มาจากคอมมูนิตี้ Women Techmakers ค่ะ ขอเสียงผู้หญิงใน hall นี้หน่อย Women Techmakers มีใครสามารถจอยได้นะคะ จอย Women Techmakers ได้ทุกคนที่เป็น developer ค่ะ
ผลสำรวจ Thailand Web Developer 2024: ภาพรวม0:35
อันนี้ท้าวความนิดนึงนะคะ มีใครในที่นี้ได้ทำ survey ตัว Thailand Web Developer 2024 บ้างคะ ยกมือหน่อย ขอดูมือหน่อย ยกสูงๆ นะคะ ก็ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในแบบสอบถาม อันนี้นะคะ เราก็จะได้มาเปิดผลกันวันน ี้แหละว่า จากผลตอบรับที่ส่งมาเนี่ย 274 response นะคะ เราก็มาดูกัน
กลุ่มตัวอย่าง: อายุและเพศ1:10
อันนี้ก็จะเป็น demographic คร่าวๆ เรามาเล่าถึงผล survey นะคะ ก็ทั้งหมด 274 คน คนที่มีอายุ 29 ปีนะคะ ก็จะมีจำนวนมากที่สุดนะคะ
แต่ว่า responder ของเราเนี่ย ที่มาตอบที่เกี่ยวกับ developer เนี่ย ส่วนใหญ่อายุ 29 ปี ครับ 29 ปี ในปีที่แล้ว จะเป็น majority จะเป็น 25 แปลว่าปีนี้คนอายุมากขึ้น 4 ปีนะครับ น่าสนใจ ใช่ ผ่านไป 1 ปีแล้วก็อายุมากขึ้น 4 ปีได้ ก็เฉลี่ยเข้าเลข 3 กันเรื่อยๆ นะฮะ สำหรับ developer ในไทยนะฮะ ก็อันนี้อาจจะด้วยกลุ่มต่างๆ ที่เราแชร์ ก็ขอบคุณทุกท่านในนี้นะคะ ก็ distribution ประมาณนี้ อายุเฉลี่ยก็ประมาณ 29 พอๆ เงี้ยค่ะ
มาดูเรื่องเพศกันบ้าง อันนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจค่ะ ก็คือว่าปีที่แล้ว เรามีผู้หญิงที่มาทำแบบสอบถามนะคะ
ประมาณ 6.3% ปีนี้เรามีกันมากถึง 9.5% ด้วยกันค่ะ โห เป็นเรื่องที่ยินดีและน่า surprise มากนะครับ เราก็จะได้เห็น diversity ในวงการ tech ไทย มากยิ่งขึ้นนะคะ จำนวนผู้ชายน้อยลง… ไม่ใช่! เรียกว่ามีผู้ที่เข้ามาอยู่ในวงการเนี่ยเป็นผู้หญิง เพิ่มมากขึ้น ค่ะ แล้วก็มีเพศอื่นๆ มากขึ้น มีความหลากหลายทางเพศมากยิ่งขึ้นนะคะ หนุ่มๆ ก็ใจชื้นเนอะ มีเพศอื่นๆ ให้เลือ ก
ความหลากหลายในวงการ Tech2:28
ที่จริงเราอยากเห็นความหลากหลายมากขึ้น
คือเราอยากจะบอกว่าทุกคนนะฮะ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชายนะครับ เราสามารถมาเป็น developer ได้เหมือนกันนะฮะ ใช่ค่ะ ก็เป็นวงการที่เปิดกว้างนะคะ ไม่ว่าคุณจะเพศไหนอายุเท่าไหร่นะคะ จากในอายุเมื่อกี้ก็เห็นว่า อายุ 50 กว่า ก็มาตอบแบบสอบถามด้วยนะคะ ก็ไม่ได้กีดกันด้านเพศและอายุนะคะ
ที่ตั้งของนักพัฒนาและการกระจายตัว2:51
เรามาดูเรื่องจังหวัดกันดีกว่าค่ะ อันนี้ก็น่าสนใจนะคะว่ามีคำตอบมามากถึง 31 จังหวัดนะคะ ก็คือเกือบครึ่งประเทศละ
จังหวัดที่มีคนตอบมากที่สุดนะคะ ก็ประมาณเกือบๆ 3 ใน 4 เนี่ย ก็จะเป็นกรุงเทพมหานครค่ะ ถัดลงมาก็จะเป็นนนทบุรี แล้วก็มีสมุทรปราการ สงขลา ปทุมธานี ชลบุรี ขอนแก่นนะคะ และที่เหลือก็จะเป็น 1% ค่ะ โดย 2-3 อันดับแรกก็จะเป็นปริมณฑลกรุงเทพฯ ไม่ค่อย surprise เท่าไหร่ แต่ว่าเราจะได้เริ่มเห็นแล้วว่าต่างจังหวัด เรามีจังหวัดอะไรบ้าง ใช่ค่ะ ก็ดูชื่อจังหวัดทั้งหมดใน word cloud ในรูปนี้เลยนะคะ แล้วก็ในนี้มีคนตอบจากต่างประเทศมาด้วยค่ะ
จากประเทศไหนฮะอันนี้ มีจากสหรัฐอเมริกานะคะ บางคนก็ต อบ everywhere
รายได้ต่อเดือนของนักพัฒนาเว็บ3:46
รายได้ต่อเดือน อันนี้เป็นอะไรที่หลายๆ คนสนใจ ตรงนี้ก็คือทุกคนสนใจมากที่สุดละกันว่า เราทำงานต่อเดือนเนอะ เราก็อยากจะเห็นรายได้ ก็พบว่ารายได้ต่อเดือนส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบสอบถาม มาจะอยู่ที่ 30,000 บาท ถึง 50,000 บาทค่ะ แล้วก็ถัดลงมาใกล้ๆ กัน ก็คือเรียกว่าครึ่งนึงเนี่ย เกินครึ่งก็จะ ถัดต่อมาก็เป็น 50,000 บาท ถึง 80,000 บาทนะคะ ก็คือเกินครึ่งของคนในนี้ แต่เนื่องด้วยว่าอาจจะเรื่องอายุงานใช่มั้ยคะ ใช่ อาจจะเป็นเรื่อง experience งานของเราฮะ เราก็จะค่อยๆ ไต่เต้าไปเรื่อยๆ เราก็จะเห็น ว่า เราเห็นสุดปลายทางนะคะ มี 6.2%
ที่มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 150,000 บาทนะคะ
โอเค เราก็สามารถพัฒนาไปถึงจุดนั้นได้เช่นกันนะคะ คือจริงๆ เหมือน gap ตรงนี้ก็จะค่อยๆ ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ทุกๆ ปีเหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับงานเราด้วย แต่ก็เห็นการ distribution เงินเดือน ในช่วง range ต่างๆ นะคะ
ประสบการณ์ทำงานและขนาดทีม4:43
ทำงานด้าน web development มานานแค่ไหนแล้ว อันนี้ก็จะสอดคล้องกับในสัดส่วนของเมื่อกี้เลย แต่ว่าอาจจะมีผู้เล่นใหม่เข้ามาเยอะขึ้นด้วย ทำให้ตัวพาร์ทนี้ใหญ่ขึ้นไป ใช่ ต้องบอกว่าทำงานมานานแค่ไหนแล้วตรงเนี้ย นับในประสบการณ์สุดของ web development ค่ะ อาจจะบางคนอาจจะย้ายสายมาจากสายอื่นก็ได้ ส่วนมากนะคะเราก็มีอายุงานมากกว่า 3 ปีด้วยกัน 30% นะคะ แล้วก็ที่เหลือก็คือครึ่งนึง อีกครึ่งนึงก็จะเป็น 3 อีกประมาณ 20 กว่าเปอร์เซ็นต์เนี่ยก็จะเป็น 3-5 ปี ก็คือ 80% ก็จะอายุงานน้อยกว่า 10 ปีนะคะ
สไลด์วันนี้เรายาวนะคะ เดี๋ยวเรามีอะไรให้เล่าเยอะ ขนาดของทีม development ค่ะ เป็นที่น่าสนใจมากว่าในนี้นะคะ ส่วนมากอ่ะ จะมีขนาดของทีม dev ประมาณไม่เกิน 20 คน ไม่เกิน 20 คน เป็นส่วนใหญ่ละกัน แล้วหลังจากนั้นจะกระโดดไปแบบทีมที่เกิน 100 คนไปเลย ใช่ค่ะ ถ้าสัดส่วนของทีมที่เกิน 100 คนนะ คะ ก็คือสีชมพูบนหน้าจอเนี่ยค่ะ สีชมพูตัวเนี้ย ก็คือ 7.7%
สีแดงคือ 3-5 คน ส่วน 100 คนก็เป็นสีชมพูไปเลย
อ่า โอเค เป็นสัดส่วนประมาณนี้แล้วกัน เป็นที่น่าสนใจว่าส่วนมากนะคะ ก็คือขนาดขององค์กรจะเป็นองค์กรขนาดเล็กค่ะ ไม่เกิน 20 คน
ชาวต่างชาติในทีมและชื่อตำแหน่ง6:14
มีชาวต่างชาติในทีมหรือไม่ อันนี้ก็ 3 ใน 4 บอกว่าไม่มีชาวต่างชาติในทีมนะคะ ก็เป็นคนไทยล้วนเลยครับ ชื่อตำแหน่งค่ะ ก็ในที่นี้อาจจะมีการคลีนตำแหน่ง ชื่อคล้ายๆ กันมารวมกันนะคะ อย่าง web developer, programmer อะไรเงี้ย ก็จะถูกรวมเป็น developer ทั้งหมดเลย ทำให้เราเห็นว่า developer เนี่ยเป็นตัวที่ใหญ่ที่สุด เป็นตำแหน่งที่มีคนมากที่สุดในนี้ แล้วก็มีตำแหน่งอื่นๆ ที่มาตอบแบบสอบถามเช่นกันครับ เป็นด้าน mobile lead บ้าง
เป็นเหล่าทีม dev เป็นทาง product management บ้างนะครับ มีเรื่อยๆ ค่ะ อย่างอื่นๆ อันนี้ก็จะเป็นรวมตำแหน่งอื่น ที่ไม่ได้เกี่ยวกับสาย tech เลย ก็มีมาตอบ แต่ที่พัฒนาเว็บเหมือนกัน แต่ว่าตำแหน่งอื่นๆ ที่ฉีกออกไปเลยนะคะ ก็ขอรวมอนุญาตรวมเป็นอื่นๆ นะคะ ก็จะมีให้เห็นว่า สายงานในสายงานด้านเว็บเนี่ย
มันก็มีตำแหน่งที่เกี่ยวข้องด้วยกันหลากหลายตำแหน่งค่ะ
เทคโนโลยี Frontend: TypeScript และ Framework7:06
เรามาดูส่วนที่ทุกคนอยากเห็นที่สุดนะคะ ว่าตอนนี้เราใช้เทคโนโลยีอะไรกันบ้างคะคุณจ๊อบ เราเริ่มจาก frontend ก่อนแล้วกัน เพราะว่า JavaScript น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่คนเข้านะฮะ เป็นเรื่องของ frontend อันแรกค่ะ ก็เป็นคำถามเซิร์ฟๆ ว่าใช้ TypeScript กันไหมคะ คุณจ๊อบใช้ TypeScript ไหมคะ แน่นอนฮะ เป็นหลักเลย 60% ในที่นี้ใช้ TypeScript ค่ะ อยากดูนิดนึงในห้องเนี้ย คนไหนใช้ TypeScript บ้างครับ อยากดูมือหน่อย 60% ประมาณคะ ไม่ใช่เกินละ
ดีใจ ใช้ TypeScript กันนะคะ ก็คือ 60% ใช้เป็นประจำ แล้วก็มีอีกประมาณ 20% ใช้เป็นบางครั้งนะคะ ประมาณนี้ก็คือเรียกว่าส่วนใหญ่ใช้ TypeScript กันหมดเลยค่ะ frontend framework บ้างค่ะ ต้องบอกก่อนนะคะว่าในที่เนี้ย มันเป็นผลสำรวจแล้วกัน เราไม่ได้บอกว่า framework ไหนดีไม่ดี แต่เราจะตอบ popular ตรงที่เป็นสีม่วงค่ะ สีม่วงตรงที่เนี้ยเราจะบอกว่ามีการใช้งานเป็นประจำ ก็เลยเราจะให้รางวัลเขาเป็น most popular นะคะ แต่ว่าดีไหมไม่ดี แนะนำยังไง แล้วแต่สถานการณ์ค่ะ เพราะว่าแต่ละ framework ก็จะมี use case ที่แตกต่างกันไป ในที่นี้ frontend framework popular ที่สุดให้กับ React
ซึ่งอย่างที่บอกนะฮะ ตบมือได้นะฮะ
ตรงนี้เราไม่ได้บอกว่าตัวไหนดีกว่าใครนะครับ แต่ว่ามันคือเรื่อ งของความ popular ของมันแล้วกัน แล้วก็เรื่องของมันขึ้นอยู่กับโปรเจคต์ของงาน ขึ้นอยู่กับทีมด้วยนะครับ ว่าตัวไหนเหมาะสมนั่นเองนะฮะ ก็น่าสนใจว่าแบบ คนที่ตอบว่าไม่ได้ใช้ React เนี่ยมีจำนวนน้อยมาก แต่แบบก็มีบางคนเหมือนกันที่ตอบว่าเลิกใช้ไปแล้วก็มี ซึ่งเลิกใช้ไปแล้วก็อาจจะมีคำตอบอื่นๆ ที่วนอยู่ในตรงนี้ค่ะว่าเขาไปใช้ตัวอะไรกันนะคะ แต่ตรงนี้เราก็แนะนำตัว popular ของเรากันไปวันนี้นะคะ บางตัวใหม่ๆ มากเนี่ยอาจจะยังไม่มีใครเคยได้ใช้ ยังคนเคยใช้ยังน้อยอยู่
เพราะเราจะ React ลงมาก็จะเป็น Vue เนาะ เพราะว่า Next.js เนี่ยจะเป็นลูกหลานของ React นะฮะ
แต่ถ้าบางตัวในนี้ไม่มี framework ในใจใครบางคน ก็ขออภัยด้วยนะคะ
UI Framework, CSS, และ Build Tools9:07
ต่อถัดมาค่ะ UI framework ค่ะ popular ที่สุดให้กับ Material UI ของ React นะคะ
ก็น่าจะสอดคล้องกับหน้าเมื่อกี้นะคะ ว่าคนใช้ React ก็จะใช้ Material UI บ้าง ถัดมาส่วนของ CSS ค่ะ CSS เราก็ที่ได้รางวัลคือ Tailwind CSS Tailwind นี่คือต้องบอกว่าเป็น option ใหม่ สำหรับคนทำ frontend ยังไงให้เร็วขึ้นแล้วกัน งั้นเราอาจจะใช้ Bootstrap บ้างใช่ไหมฮะ แต่นั้นอาจจะเก่ามาก Bootstrap ยังเป็นที่ 2 นะคะ ยังมีอยู่ แต่ว่าก็เห็นว่าส่วนใหญ่เนี่ย บางก็จะมีแถบเลิกใช้เนี่ยสูงขึ้นมานิดนึงละ ของ Bootstrap ค่ะ เรามาดู อาจจะเหลือเวลาไม่มาก ขอไปเร็วนิดนึงนะคะ ก็จะมี build tool build tool ตรงเนี้ยน่าสนใจค่ะ เพราะว่ามี 2 framework เนี่ยได้คำตอบเท่ากันเลย
ก็คือ Webpack แล้วก็ Vite ค่ะ
เพราะว่ามันเป็นคำที่แบบ ถ้าเกิดใครอ่านเร็วๆ ก็จะอ่านว่า Vite ใช่ไหมครับ ในที่นี้มีใครใช้ Vite บ้างครับตรงนี้
เยอะมาก ผมรู้สึกว่าการเติบโตค่อนข้างขึ้นสูงเยอะเลยนะครับ
ถ้าใครยังไม่เคยใช้ตัวนี้ก็เอาไปดูนะคะ ว่าถ้าเกิดเรียกว่า Vite นะคะ ลองดู ลองไปเช็กดูได้นะฮะ ก็เป็นอีกตัวนึงที่น่าสนใจนะครับ ลองดูกันได้ เพราะว่าในอดี ตเนี่ยเวลาเราเริ่มใช้พวก frontend framework เนี่ย default เลยเรามักจะใช้ Webpack ก่อนหน้านี้จะเป็น Gulp อะไรต่างๆ นานาใช่ไหมครับ แต่วันนี้เรามี Vite ขึ้นมาเป็นอีกตัวเลือกนึงนะครับ น่าสนใจค่ะ แล้วก็ยังเห็นนะคะ เนื่องจากว่าตัวนี้เป็นตัวใหม่ ยังไม่มีใครเลิกใช้ค่ะ แบบว่าทุกคนใช้ก็ยังใช้กันอยู่นะคะ
Test Tools และ Data Layer ของ Frontend10:49
ถัดมา test tool ครับ test tool ที่ popular ที่สุดคือ Jest ค่ะ แล้วก็ถัดรองจากนั้นก็จะเป็น Playwright เป็น Storybook นะคะ Cypress ด้วย Playwright มันนี่มาแรงนะฮะ โอเค เราเอาใจฝั่ง frontend ไปแล้วนะคะ สุดท้ายค่ะ data layer ของ frontend ยังเป็น Redux ค่ะ
แต่ว่าก็เห็นว่า popular เนี่ยตามมาด้วยเลิกใช้นะคะ เห็นว่ามีเลิกใช้เยอะสุด เพราะว่าคนใช้มากที่สุดนะคะ ก็อันนี้แล้วแต่ preference ของแต่ละคนนะคะ ผมเข้าใจคนเหล่านั้นได้ฮะ
ถัดรองจาก Redux ก็จะเป็น GraphQL นะคะ
แล้วก็ตัว Pinia ใช่ไหมคะ
Backend: PHP, Python, และ JavaScript11:37
ถัดจาก frontend ละ เราก็ต้องมาเอาใจฝั่ง backend ค่ะ Node.js ค่ะ จริงๆ backend ตัวเนี้ย เราขอเริ่มจาก PHP ก่อน
PHP แบบว่าตอนนี้ framework ตัวไหน มีคนใช้ PHP อันแรกที่นึกถึงนะคะ ก็คือ WordPress ค่ะ WordPress ก็ยังเป็น the most popular ยังเป็น popular among PHP ในบรรดา PHP ทั้งหมดตอนนี้ก็ WordPress ได้ popular ที่สุดนะคะ ฝั่ง Python กันบ้างค่ะ ฝั่ง Python ตอนนี้เป็น Django นะคะ แต่ต้องบอกว่าในตัวเลือกที่ให้เลือก 3 ตัว จริงๆ Python ก็มี lib มากกว่านี้เหมือนกัน อย่างมีบางตัวที่ไม่ได้พูดถึง แล้วก็คนพูดถึงแนะนำตอนสุดท้ายนะคะ ตอนสุดท้ายจะมี text field อันนึง ถ้าทุกคนจำได้ จะมี text field ว่าอยากแนะนำอะไรนะคะ ก็จะมี Python อื่นๆ เช่น FastAPI อะไรอย่างเงี้ยค่ะ เดี๋ยวเราค่อยมากางกันอีกทีนึง ในที่นี้วันนี้เราจะไม่พูดถึง Python นะคะ
เราข้ามไป JavaScript นะคะ Most popular ของ JavaScript คือ Express เหมือนเดิมครับผม
เป็นสามัญชนเริ่มต้นเลย เป็น lib แรกๆ ที่ใครเริ่มเขียน Node.js ก็จะได้เขียน Express
ถัดมาเป็น NestJS ค่ะ
แล้วก็ที่เหลือก็จะเป็นไม่ได้ใช้ framework ค่ะ
แปลว่าในที่นี้ก็อาจจะได้ใช้ framework อื่นๆ ด้วย นอกเหนือจากตัวนี้นะคะ มี Express, NestJS แล้วก็อื่นๆ
ภาษาอื่นๆ: ASP.NET, .NET Core, Ruby, Java, Golang13:11
ถัดมานะคะ เราก็ไม่ได้สนใจแค่ 3 ภาษา เรามีภาษาอื่นๆ ในที่นี้ จะมี ASP.NET, .NET Core, Ruby, Java
ไม่แน่ใจมีใครอยู่ในห้องนี้มั้ยคะ ที่ใช้ 4 อันนี้ มีคนยกค่ะ โอเคๆ ไม่ได้มาผิดงานนะคะ เราพูดถึงอยู่ พูดถึงเหมือนกัน เราก็ยังพูดถึงทุก framework ด้วย
ในที่นี้ก็มี .NET Core นะคะ ที่ popular among ตัวอื่นแ ล้วกัน ในบรรดาตัวอื่นๆ ถือว่า popular แต่ว่าเราก็เทียบกันตรงๆ ไม่ได้หรอก จริงๆ .NET Core เนี่ยเป็นตัวนึงที่เพิ่งมาใหม่ เมื่อไม่นานไม่กี่ปีก่อนหน้านี้เองนะครับ ถือว่าเป็นการเติบโตที่ค่อนข้างไวมาก Microsoft Team ละ เฮ้ย วันนี้ผมไม่ได้มาอวย Microsoft ไม่เป็นไรๆ แต่ว่าอันนี้ก็แค่จะบอกว่า เป็นตัวนึงที่มาแรงเหมือนกันนะฮะ ถัดมา Golang ค่ะ ในบรรดา Golang ที่ดังที่สุดคือ Fiber นะคะ แต่ว่าส่วนมากก็จะตอบว่าไม่เคยใช้ค่ะ ของ Golang เราขอข้าม Golang แล้วกัน
ฐานข้อมูลยอดนิยม: PostgreSQL และ MySQL14:14
Database ค่ะ อันนี้มาแรง มาแรงทะลุ graph มากเลย PostgreSQL นะคะ น้องช้างของเราก็โอเ ค
ถัดมาก็เป็น MySQL ค่ะ
แล้วก็ที่เหลือก็เป็นตัวทั่วๆ ไปที่ใช้กันเยอะอยู่แล้ว เชื่อว่าทุกคนใช้ในนี้เยอะอยู่แล้ว มี Firebase ที่อาจจะใช้น้อย เลิกใช้ไปบ้างนะคะ
Cloud Service: AWS, Azure, Google Cloud14:41
Cloud service ค่ะ อันนี้ต้องบอกว่าไม่น้อยหน้าใครนะคะ คนที่เป็น popular ที่สุดคือ AWS ค่ะ แต่ว่าจะเห็นว่า ค่ายอื่นๆ Azure, Google Cloud ไม่ต้องเสียใจนะคะ คือจริงๆ แล้วคนใน response เนี่ย ก็คือใช้ค่อนข้างพอๆ กัน แต่ว่าถ้าเกิดถามว่าใช้เป็นประจำ จะเป็น AWS
แต่ว่า Azure กับ Google Cloud ค่อนข้างเยอะพอสมควร เทียบกับตัวอื่นนะคะ ส่วน DigitalOcean อาจจะไม่ค่อยมีคนใช้ ก็ไม่มีคนใช้อาจจะไม่ทัน
ผมเริ่มคิดแล้วว่าผมเนี่ยอายุเท่าไหร่ โอเค ไม่เป็นไร เราข้ามเรื่องนี้ไปดีกว่าค่ะ
Text Editor ยอดนิยมและ GitHub Codespaces15:19
คำถามอื่นๆ ค่ะ text editor
เราข้ามเรื่องนี้ไปแล้วกัน เห็นชัดมาก VS Code พุ่งมา ตามมาด้วย Vim นะฮะ ในที่นี้เราสาย command line กันนะ สุดยอด
ซึ่งอันนี้อาจจะรวมถึง extension Vim ใน VS Code ด้วยนะฮะ สุดยอด น่าสนใจนะฮะ แต่ว่าอันนึงที่ผมค่อนข้างอยากนิดนึงก็คือ ลองจากที่มันเป็น text editor จริงๆ เรามีใช้ text editor ออนไลน์ด้วย อย่าง GitHub Codespaces อันนี้เป็นอันที่ผมประหลาดใจมาก ใหม่นะคะ อันนี้ใหม่อยู่ อันนี้น่าสนใจครับ ก็ถือว่า 14 จุดกว่าๆ เปอร์เซ็นต์เนี่ย ก็เยอะพอสมควรเลยค่ะ อันนี้ค่อนข้างเอกฉันท์กันนะคะ เดินไปดูถัดไป
คำแนะนำเครื่องมือและภาษาอื่นๆ: Rust, Copilot16:05
จริงๆ session part เนี้ยค่ะ เป็น part ที่น่าสนใจมาก เพราะว่าเป็น part ที่ให้คนได้กรอกมาค่ะ ว่ามีเครื่องมือ ภาษา หรือ library ต่างๆ ที่อยากแนะนำใครบ้างนะคะ ตัวที่ใหญ่ที่สุดในนี้ค่ะ คือ Rust ค่ะ มาแรงๆ
สุดยอดเลยนะคะ ตัวนี้ Rust แล้วก็ถัดจาก Rust เท่ากันก็จะมี Copilot ค่ะ ก็คือ GitHub Copilot นั่นเอง แต่ว่าเดี๋ยววันเนี้ยมันเริ่มเห็นว่า เราเริ่มประยุกต์ใช้คำว่า AI ที่มากับการเขียนโปรแกรมเรามากขึ้น เป็นยุคของ AI ละ แล้วก็ถัดมา ลองจาก Rust, Copilot ละ ก็มีตัว IntelliJ ค่ะ ที่เป็น IDE ที่เมื่อกี้เราไม่ได้พูดถึงในสไลด์ก่อนหน้านะคะ ในก่อนหน้าเราพูดถึงแค่ WebStorm ซึ่งเป็นในเครือญาติเดียวกัน แต่ว่าในที่นี้ก็คนแนะนำ IntelliJ ด้วย สำหรับสาย GUI นะคะ แล้วก็มีอย่างจะมีภาษาอื่นๆ ที่ได้พูดถึงในนี้ มี Golang Scala, Akka นะคะ ในที่นี้เห็น Akka… Spring Boot ค่ะ
ยังอยู่ค่ะ Spring Boot มี Go แล้วก็ React Query, Blazer นะคะ Jotai ในนี้ก็จะเป็นตัวหลักๆ ที่คนพูดถึงนะคะ แต่ว่าตัวอื่นๆ ก็สามารถถ่ายรูปแล้วก็เก็บไปดูต่อกันได้เลย
สรุปผลสำรวจและช่องทางการเผยแพร่17:17
ซึ่งรีพอร์ตจากนี้นะคะ เราก็จะมี publish รีพอร์ตออกมาด้วย อีกทีนึง เพราะว่าในที่นี้เราก็ทำออกมาเร็วๆ นะ เราเพิ่งปิดผลไปเมื่อวาน ใช่ เพราะว่าอันนี้เป็นผลร้อนๆ เลยนะ สดใหม่นะคะ ร้อนๆ ขนาดไหนก็ก่อนขึ้นไม่นานนะคะ คนที่นั่งอยู่ตรงนู้นก็จะเห็นรีพอร์ตหมดแล้วก่อนหน้านี้ค่ะ
ความพึงพอใจในอาชีพนักพัฒนา17:35
ก็สองคำถามสุดท้ายแล้วค่ะ ความพึงพอใจกับอาชีพที่ทำอยู่ในด้านต่างๆ ใครพึงพอใจกับการเป็น dev ในทุกวันนี้บ้างคะ ในอาชีพปัจจุบันที่ทำอยู่นะคะ มีความรู้สึกว่าเราทำ dev เนี่ย เราพอใจมากแล้วนะวันนี้ มีใครบ้างฮะตรงนี้ มีใครยังแฮปปี้ มีใครไม่พึงพอใจมั้ยคะ
ขอเป็นไม่พึงพอใจ โอเค ไม่เป็นไร เราสรุปออกมาเป็นค่าสถิติค่ะว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจนะคะ ส่วนมากนะคะ ทุกคนบอกว่าชอบสายงานนี้ ก็เอาไป 3.086% นะคะ ขอโทษค่ะ เต็ม 5
อ๋อ ก็กลางๆ ทุกคนพอใจกลางๆ แต่ว่าในบรรดาทั้งหมดเนี่ย ก็ถือว่าทุกคนพึงพอใจกับสายงานตัวเองมากที่สุด
รองลงมาจะเป็นเรื่องของสังคม เรื่องขององค์กร แล้วก็น้อยที่สุดคือผลตอบแทนค่ะ แต่ว่าเราไม่ได้คาดหวังผลตอบแทนเท่าไหร่
อันนี้พูดตาม data นะ เค้าพึงพอใจ
ซึ่งอันนี้ก็ชัดเจนขึ้นในหน้าถัดไปนะคะ
ปัจจัยในการเลือกงานและองค์กร18:43
ว่าปัจจัยในการเลือกทำงานในองค์กรค่ะ
เราเลือกตามค่าตอบแทนและสวัสดิการนะคะ ถัดจากนี้ลองลงมา เราก็จะเลือกจากสุขภาพจิตนะคะ เพราะว่าเดี๋ยวนี้ทุกคนก็ใส่ใจสุขภาพจิตตัวเองมากยิ่งขึ้นเนาะ อยากทำงานในที่ๆ แบบไม่ toxic อะไรเงี้ย แฮปปี้ ทุกคนอยู่ร่วมกันนะคะ หรือที่มันเริ่มคำว่า work-life balance มากยิ่งขึ้น เราเริ่มรู้สึกว่าการใช้ชีวิตก็เป็นสิ่งสำคัญนอกจากงานเช่นกันฮะ ในที่นี้ก็เป็น key takeaway ว่า อยากให้ทุกคนส่งเสริมสุขภาพจิตนะคะ โดยการทำตัวเป็นคนดีและน่ารักในที่ทำงาน
เลือกงานที่เหมาะสมด้วย นั่นเองค่ะ แล้วก็ขอข้ามไปตรงที่น้อยที่สุดละกัน ถ้าถามว่าปัจจัยอะไรที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเลือกงานในที่นี้ ตอบว่า หมวดหมู่ธุรกิจและบริษัทค่ะ เพราะว่าสาย dev ที่ไหนก็ได้ สาย dev ก็ไปได้ทุกวงการเลย ไปได้ทุกหมวดหมู่ธุรกิจนะคะ
สรุปและปิดท้าย19:41
ก็ขอจบการ present ตัว survey ไว้แต่เพียงเท่านี้นะคะ ก็ปีหน้าโอกาสหน้า ตรงนี้ก็จะมีทุกปีเนาะ โอกาสหน้าก็สามารถมากรอก มาทำแบบสอบถามได้เหมือนเดิมนะคะ แล้วเราก็จะเห็นผลลัพธ์นั่นเองค่ะ ทุกต้นปีเราจะได้มาดูรีพอร์ตนี้กันอีกครั้ง ก็หวังว่าข้อมูลวันนี้นะครับ จะมา support คนในห้องไม่มากก็น้อยนะครับ เผื่อใครกำลัง explore ลองของใหม่ๆ ใช่ เป็นกลุ่มตัวแทนนึงนะคะ ที่เราได้มา โอเค ถ้างั้นก็ฝากไว้ประมาณนี้ ขอบคุณมากค่ะ ขอบคุณค่ะ
ก็ต้องขอบคุณจ๊อบกับพี่ฝนด้วยนะครับผม ที่มาเล่าเรื่องของตัว developer survey ของเว็บให้เราฟังนะครับ ครับผม ตัวผล developer survey เป็นไงบ้างครับ มีหัวข้อไหนอะไรยังไงที่แบบเราเดาไว้ถูกหรือเปล่านะครับ