Videos → Tech Thaiban Model: Empower Local
Description
Tech Thaiban - เทคไทบ้าน https://www.techthaiban.org/ Facebook Page เทคไทบ้าน https://www.facebook.com/techthaiban.org
Chapters
- ก่อนย้ายไปต่างประเทศ ลองซ้อมด้วยการย้ายไปต่างจังหวัดดู 0:00
- ภูผาม่าน 0:42
- แนะนำตัว 1:07
- จุดเริ่มต้นของเทคไทบ้าน 1:43
- Go Local - Go Meetup ณ ภูผาม่าน 2:40
- ฟาร์มคิด - ภูผาม่าน 3:17
- ทำไม Tech meetup ต้องจัดที่กรุงเทพอย่างเดียว 4:00
- UX Meetup ณ ภูผาม่าน 4:37
- มหา'ลัย ไทบ้าน 6:27
- บรรยากาศ Tech meetup ณ ภูผาม่าน 7:36
- กระจายอำนาจ 9:00
- Next model 9:38
- โมเดลการศึกษา 10:10
- โมเดลการบริจาค 12:22
- Conclusion 14:40
Transcript
คำบรรยายต่อไปนี้อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด หากคุณพบข้อผิดพลาดใดๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดได้บน GitHub
ก่อนย้ายไปต่างประเทศ ลองซ้อมด้วยการย้ายไปต่างจังหวัดดู0:00
โอเคครับ ก็ขอเชิญพี่กุลกับพี่ฮั้นท์ เริ่ม session แรกเลยครับ สวัสดีครับ ในนี้มีใครเคยคิดย้ายไปอยู่ต่างประเทศบ้างครับ
ขอยกมือหน่อย ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่อื่น
ลองซ้อมด้วยการย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดดู อันนี้เป็นการเล่าเรื่องที่ผมต้องการ ที่จะย้ายไปอยู่ที่อื่นเหมือนกัน แต่ว่าซ้อมด้วยการไปย้ายอยู่ต่างจังหวัดครับ ที่นี่คือภูผาม่าน ที่ผมย้ายมาอยู่นะครับ
ภูผาม่าน0:42
จะค่อยๆ ย้อนให้ดู
หัวข้อที่ผมจะเล่าวันนี้คือโมเดลที่ชื่อว่า Tech Thaiban Model หลักๆ ก็คือผมต้องการ Empower local กลับไปอยู่บ้านแล้วทำยังไงได้บ้าง ที่จะทำเอา tech หรือเทคโนโลยีไปเชื่อมกับชุมชนได้
แนะนำตัว1:07
ขอแนะนำตัวครับ ผมชื่อกุล ผมเป็น designer แล้วก็เป็น contributor ด้วย ปัจจุบันทำงานอยู่ที่ขอนแก่น ภูผาม่าน แล้วก็หลักๆ ก็หลังจากทำงานก็จะมี contribute ด้วยหลายๆ อย่าง ก็เริ่มเข้าทำงานสาย tech อยู่ที่ มีใครเกิดทัน exteen.com บ้างมั้ย อันนี้ก็คนสร้างแพลตฟอร์มเหมือนกัน มีคนเกิดทัน exteen.com บ้างมั้ยครับ ไม่มี ใช่
แล้วเกิดทันครับ ทันๆ ทัน มีคนทัน ทัน โอเคครับ
ผมจะเล่าต่อว่า Tech Thaiban ทำอะไรบ้าง
จุดเริ่มต้นของเทคไทบ้าน1:43
ย้อนไปเมื่อ 2018 กลับไปอยู่บ้านเนี่ย พบว่า เรากลับไปอยู่ที่ขอนแก่น ภูผาม่าน เราไปอยู่แล้วเราพบว่า เราไปทำธุรกิจที่ภูผาม่านแล้วมันไม่น่ารอด เราพาครอบครัวไปที่ภูผาม่านเลย แล้วก็ไปทำธุรกิจเล็กๆ คิดว่าตัวเองจะรอด คิดว่าตัวเองทำ work remote 100% แล้วจะรอด ปรากฏว่าเราเป็น UX designer แต่เราวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคผิด เราไปเปิดร้านอาหารติดกับเซเว่น เราคาดว่าลูกค้าน่าจะเต็มร้านแน่นอน เต็มร้านได้อาทิตย์เดียว เพราะว่าพฤติกรรมผู้บริโภค รู้สึกว่า ใครจะไปนั่งกินข้าวข้างเซเว่นที่ไฟสว่างๆ
นึกออกใช่มั้ย คนบ้านนอกเค้าติดหนี้กัน เค้าคงไม่ไปนั่งข้างเซเว่น แล้วมีคนมาเห็นว่า เอ้ย ไม่มีตังค์ใช้หนี้ แต่ว่ามีตังค์กินข้าวอยู่ได้ไงวะ
Go Local - Go Meetup ณ ภูผาม่าน2:40
เราก็เลยพบว่าเราจะทำยังไงได้บ้าง ในเมื่อเรากลับมาอยู่ที่ภูผาม่านแล้ว เราจะเอาเรื่องพวก MVP, startup model พวกนี้
design service พวกนี้ จะมาทำยังไงให้เรารู้สึกว่า เราน่าจะรอดกับการกลับบ้านนะครับ ก็เลยเริ่มจัด tech meetup ที่ชื่อว่า Go Local เวอร์ชั่น 1 เราก็จัดกลางทุ่งนาเลยครับ เราใช้ tech model ในการจัด event เพื่อดึงคนกรุงเทพหรือดึงเพื่อนๆ ที่อยู่สาย tech ไปทำความรู้จักกับภูผาม่าน แล้วก็จัดแบบนี้ ก็มีคนไปร่วมประมาณซักหลัก 10-20 คน
ฟาร์มคิด - ภูผาม่าน3:17
เราพบว่าการจะดึงคนไปเที่ยว หรือไป local จริงๆ อ่ะ
มันไม่มี service รองรับ นึกออกมั้ย เราพาเพื่อนกรุงเทพไปแล้ว ไปเยี่ยมเรา ไปจัด tech meetup แล้วไม่มี service อะไรเลย ไม่มีร้านกาแฟนั่ง ไม่มีเน็ตใช้ ไม่มี ecosystem ที่เกี่ยวกับรองรับพวกสายเที่ยวเลย ปรากฏว่าเราก็เลยต้องทำเอง เราก็เลยทำ build build ตัวนี้ชื่อว่า ฟาร์มคิด เป็นร้านเล็กๆ เป็นร้านคาเฟ่ เวอร์ชั่นแรกก็ประมาณนี้ครับ ถัดมา เราก็พบว่าเราก็อยากจัด tech meetup เพื่อดึงคน เพื่อกระจาย อ่า ลืมบอกไปว่า นานมาแล้วผมตั้งคำถามไว้ว่า
ทำไม Tech meetup ต้องจัดที่กรุงเทพอย่างเดียว4:00
ทำไม tech meetup ต้องจัดกันที่กรุงเทพอย่างเดียว
มีใครเคยไปจัด tech meetup ที่บ้านเกิด ตัวเองที่สุพรรณ ที่อุดร มีมั้ยครับ
มีคนที่อยู่ต่างจังหวัดไหม?
ไม่มี มีเราสองคนข้างนอก โอเคครับ ผมเคยตั้งคำถามก่อนกลับบ้านว่า ทำไม tech meetup ต้องจัดที่กรุงเทพเท่านั้น ทำไมเราไม่กระจายอำนาจความรู้ไปข้างนอกบ้าง อีสานก็มี community เยอะแยะ ปายก็มีเยอะแยะ เชียงใหม่มีเยอะแยะ อุดร ขอนแก่นก็มีเยอะแยะ ทำไมเราไม่มีเกิด tech meetup
UX Meetup ณ ภูผาม่าน4:37
ผมก็เลยจัด tech meetup ด้วยการเชิญ พี่แบงค์ อภิรักษ์ UX Thailand ไปครั้งที่ 1
ครั้งนี้ผมรู้สึกว่าเป็นอะไรที่ตรงกันข้าม กับความคาดหวังของ tech ก็คือว่าปกติเราจะจัด tech meetup เราคาดหวังว่าเราไปคุยกันเรื่องเทคโนโลยีใช่มั้ย จริงๆ ผมเอาเคสนี้เอาคนตาบอดมาเล่าเคสให้ฟัง ว่า เฮ้ย เราบอก หัวข้อนี้คือการออกแบบเพื่อทุกคน
ก็คือพูดเรื่อง accessibility ของ mobile ที่เข้าถึงคนตาบอดใช่มั้ย คนตาบอดเค้าใช้มือถือได้ ออกแบบแอปยังไง เขียนโค้ดยังไงใช่มั้ย ปรากฏว่าเราไป insight ว่าคนตาบอดในชนบท
เค้าไม่ต้องการลึกแบบนี้หรอก เค้าแค่ต้องการความเข้าอกเข้าใจ การมีอาชีพของลูกเค้าได้ดูแลเค้า กลายที่ว่าการจัด tech meetup ผมคือการ empathy
ให้เค้าไปฟังในบริบทอื่นๆ ไม่ใช่ของเทคโนโลยีอย่างเดียว ไม่ใช่เขียนโค้ด ไม่ใช่ design กับคอมอย่างเดียว ทีนี้พอเราดึงเพื่อนไป เราก็เลยรู้สึกว่า มันไม่มี service อะไรเลย ในการทำให้เพื่อนรู้จักภูผาม่าน หรือท่องเที่ยวได้เลย เราก็เลยพาไปดริปกาแฟมุมนี้ ก็เลยเกิดเป็นเมืองท่องเที่ยวไปในตัว ตอนที่ผมไปอยู่ใหม่ๆ คือ 2018 ตอนนี้ 2023 แล้ว คือตอนไปอยู่ใหม่ มีรีสอร์ทแค่ 2 ที่ ตอนนี้น่าจะครึ่งร้อยแล้วมั้ง ก็คือจากการดึง tech community ไป
ก็จัด tech meetup รอบ 2 อีก เราก็เลยมาถอดบทเรียนว่า
ถ้าเราจะทำให้เมืองเป็นที่รู้จัก หรือทำ community tech อ่ะ เราต้องมี service อะไรบ้าง เรื่องนี้เราคุยกันเรื่อง service design กับพี่แบงค์ อภิรักษ์ กับทีม UX Thailand ถ้าเราจะพัฒนาเมือง หรือแก้ปัญหาอะไรบางอย่าง ที่ดึงคนไปหาเนี่ย เราต้องคิดอะไรบ้าง
มหา'ลัย ไทบ้าน6:27
นอกจากนั้น เราก็มีเรื่องทำ networking ก็คือทำท่องเที่ยวร่วมกับเพื่อนๆ
แล้วก็อาจหาญในการตั้งมหาลัยของตัวเองขึ้นมา
เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้ของชุมชน เราตั้งมหาลัยที่ชื่อว่า มหา'ลัยไทบ้าน นะครับ ด้วยกลุ่มก้อนที่เราท่องเที่ยว แล้วก็มีกลุ่มก้อนที่ทำเรื่องการศึกษา เราก็เลยตั้งมหาลัยไทบ้านขึ้นมา เราจัดมหาลัยไทบ้านมา 2 ปีแล้วนะครับ ปีหน้าเราอาจจะชวนเทคไปลองดูบริบทของชุมชน ว่าเราจะเอาเทคไปช่วยชุมชนยังไงบ้าง
นอกจากนั้น เราก็ร่วมมือกับมหาลัยขอนแก่น เพื่อจะเก็บข้อมูลเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว เราพบว่า ก่อนหน้านั้น ผมเป็นคนเก็บ data คนเดียว ตอนนั้น ไม่มีนักท่องเที่ยว เราก็เลยรู้สึกว่า พอมีนักท่องเที่ยวเยอะขึ้น เราอยากไป × กับตรงนี้ เราก็เลยไป × กับมหา'ลัยไทบ้าน แล้วก็ × กับมหาลัยขอนแก่น ในการเก็บ data พฤติกรรมนักท่องเที่ยวต่างๆ แล้วก็ build เว็บไซต์ขึ้นมา
บรรยากาศ Tech meetup ณ ภูผาม่าน7:36
มีใครเคยเห็นบริบทการจัด tech meetup แบบนี้บ้างมั้ย
มีหมอลำมั้ยครับ มีครับ มีหมอลำด้วย อันนี้คือบรรยากาศ tech meetup
มันอาจจะไม่ใช่แบบ-
ผมจัด tech meetup เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ที่ชื่อว่า Go Local Version 2 คือ เชิญคุณ AnuchitO หน่อง แล้วก็พี่ยอด แล้วก็ออกไปจัด Go Meetup ที่ภูผาม่าน ในบริบทแบบนี้ นี่คือโปสเตอร์งาน ขอบคุณสปอนเซอร์ที่อยู่ตรงนี้ด้วยนะครับ
อันนี้เดี๋ยวจะฟังพี่ฮั้นท์ คนถัดไปครับ นี่ครับ
คนที่เล่าต่อไป คือพี่ฮั้นท์ครับ เรื่องนี้ครับ โอเค
ทำไมเกิดความร่วมมือระดับนี้นะครับ เพราะว่าผมพยายามสื่อสารเสมอว่า การจัด tech meetup อะ มันไม่ควรจะกระจุกตัวอยู่เฉพาะกรุงเทพ แล้วแบรนด์เหล่านี้เชื่อ
โอเค ทำไมแบรนด์เหล่านี้ถึงเชื่อ
กระจายอำนาจ9:00
ว่าเฮ้ย จัด tech meetup อยู่ป่า ทำไมต้องมีสปอนเซอร์ระดับนี้ด้วย เพราะผมตั้งคำถามว่า เฮ้ย ถ้าพี่จะมาคุยเรื่อง tech อะ พี่ควรจะเปลี่ยนบริบทมาเป็น จัด tech meetup ที่อยู่บน กระจายอำนาจไปตามจังหวัดอื่นได้มั้ย นอกจากกรุงเทพ ไปตามหัวเมืองต่างๆ ระดับอำเภอยังได้เลย ผมก็เลยต้องการดูว่ามันจะ เป็นไปได้มั้ย ก็ขายไอเดียไปก็ มีสปอนเซอร์ นี่คือบรรยากาศการคุย tech meetup
Next model9:38
โอเค แล้วยังไงต่อนะ ไอ้ Tech Thaiban เนี่ยมันทำไปทำมาแล้ว สรุปว่ามันจะไปยังไงต่อ ผมก็พบว่าโมเดลของ Tech Thaiban จริงๆ อะ พบโมเดลใหม่คือการทำเรื่องการศึกษา
เราดึง tech ไปเรียบร้อยแล้ว เราเริ่มตกผลึกในการจัดพื้นที่รองรับ คนจะมาคุยเรื่อง tech แล้ว คำถามต่อมา แล้วชุมชนได้อะไร ไปเชื่อมกับชุมชนยังไง
โมเดลการศึกษา10:10
ผมก็พบว่า โอเค งั้นเราให้ เราหา model ใหม่ ด้วยการหาคนมอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนในโรงเรียน แล้วทำ MOU กับโรงเรียน ให้ส่งนักเรียนที่ได้รับทุนมา upskill กับเรา
upskill ที่เทคไทบ้าน แล้วใครมา upskill ให้บ้าง ในบริบทของชุมชน มีคนที่ชอบหลากหลายมาก ชอบเกม ชอบดีไซน์ ชอบสาขาไม่รู้อะไรบ้าง เป็นสิบเป็นร้อย คำถามคือเรามีหน้าที่เป็น API ในการ connect the dots เพื่อกระจายอำนาจ
ซึ่งพอเป็นแบบนั้นแล้วครับ ผมพบว่า โอเค เราไป connect กับชุมชนได้ง่ายขึ้น เพราะว่าการที่จะเดินดุ่มๆ ไปบอก ขอความร่วมมือหน่อยครับ ช่วยส่งคนมาหน่อย ช่วยมาร่วมงานหน่อย แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เท่าที่ผมลองมา 4 ปี ไม่เกิดเลย พอผมเปลี่ยน model มาเป็นการมอบทุน แล้วก็ทำ MOU ร่วมกับโรงเรียน แล้วก็ให้นักเรียนที่ได้รับทุนมา upskill เค้า ปรากฏว่าเวิร์ค
นี่ model คุย 3 วันก็เกิดภาพนี้เลย นักเรียนที่อยู่ร้องเพลงนั่นก็คือนักเรียนที่ได้รับทุนด้วย ก็เอาเขามาร้องเพลงเปิดงาน ให้เค้าได้โชว์ มีพื้นที่ในการที่จะปล่อยของ
นี่ก็เป็นบริบทของงาน เหมือนกันมากเลย จัด tech meetup มีหมอลำ มีดนตรี มี folk song มีย่างเนื้อ แล้วก็มีเบียร์คราฟต์ของคนขอนแก่นด้วย ไปขาย อะไรอย่างงี้
โอเค แล้วน้องๆ นักเรียนที่ได้รับทุน ก็จะมาเริ่มเรียนรู้การจัดงาน tech meetup ก็คือได้เข้าร่วมงานแล้วได้เห็นบริบท ให้เห็นว่างานแบบนี้มันสามารถที่จะต่อยอดอะไรของเค้าได้บ้าง แล้วก็ให้เค้าไปเริ่มใช้ระบบลงทะเบียน ไปเชื่อมกับการทำงานสาย tech เล็กน้อย
โมเดลการบริจาค12:22
พอถึงจุดนี้เราพบว่า model สุดท้ายที่กำลังทำอยู่ก็คือว่า เราพบว่า ในชนบทหรือในระดับอำเภอ มันจะมีปัญหาเรื่องเชิงโครงสร้าง ก็คือเรื่องห้องน้ำ เรื่องโรงพยาบาล นู่นนี่นั่น ยังไม่ได้ตอบโจทย์การบริการที่ดีมากนัก พอเราไปคุยกับระดับราชการ เราพบว่า อันนี้อาจจะเป็นปัญหา classic ทุกที่นะครับ เราเวลาเราไปโรงพยาบาล หรือเรารู้สึกว่าไปที่ไหนสักที่ของราชการ แล้วมันไม่โอเค
ในมุมเรานะ คนอื่นอาจจะโอเคก็ได้ แล้วคำถามต่อมา แล้วทำยังไงได้บ้างนะ ผมก็เลยมาพบว่า ผมไปเจอเคสก็คือ เราไปเข้าห้องน้ำที่โรงพยาบาลประจำอำเภอ แล้วเราพบว่า คนแก่เนี่ย น่าจะลื่นล้มหัวแตกตายก่อนที่จะหาหมอ
แล้วก็ ทุกอย่างแบบ ดูแบบ เฮ้ย มันไม่ได้เหมาะกับการเข้าห้องน้ำเลย มันน่าจะมีอะไรบางอย่างที่แก้ปัญหาได้ ผมก็เลยไปคุยกับระดับราชการ ก็พบว่า แผนที่ราชการให้งบมา เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมาซ่อมห้องน้ำ เพราะทุกอย่างมันต้องรันมาจากข้างบน ก็คือ ใช้หนี้ สร้างคน นู่นนี่นั่น เรื่องซ่อมห้องน้ำไม่เคยถึงแน่นอน ผมก็เลยบอกว่า เอาอย่างงี้มั้ย เราก็เลยพบว่าถ้าเราจะ donate เงิน เพื่อลดหย่อนภาษี ทุกคนอยากลดหย่อนภาษีใช่มั้ยครับ ทุกคนจ่ายภาษีแล้ว ในนี้ คนที่ทำงาน เราพยายามหาช่องทางในการที่จะลดหย่อนภาษี ผมก็เลยบอกว่าเราควรจะลดหย่อนภาษีกับ local
ที่เค้าได้ประโยชน์สูงสุด ถ้าเราเป็นคนต่างจังหวัด เราควรจะ donate แล้วก็วิธี donate คือไปคุยกับผู้บริหารครับว่า เราต้องการ donate เพื่อโครงการนี้เท่านั้น อย่างผมเนี่ย เพิ่งเซ็นอนุมัติเกี่ยวกับโครงการมา คือเราต้องการซ่อมห้องน้ำทั้งหมด แล้วก็ทาสี เรา donate ไปเพื่อโครงการนี้ ประโยชน์ของโรงพยาบาลได้ ประโยชน์ของชุมชนได้ ประโยชน์ของเราได้ลดหย่อนภาษี
อันนี้ก็เป็น model นึงที่ผมรู้สึกว่า สอง model เนี่ยเวิร์ค กับการที่จะกลับไปพัฒนาชุมชน เอาเทคโนโลยีไปเชื่อม
Conclusion14:40
ที่เล่ามาทั้งหมดเนี่ย จะบอกว่า จริงๆ แล้ว Tech Thaiban มีแค่นี้เอง
คือเราสนใจเรื่อง แล้วก็สนับสนุน เรื่องการกระจายอำนาจ เรื่องการออกแบบ และ technology สู่ชุมชน แล้วก็เรายังมองหาแนวทางใหม่ๆ นะครับ อันนี้เป็นแนวทางใหม่ๆ ที่เราต้องการ contribute ซึ่งเรากำลังจะเชื่อมไปยัง speaker คนที่ 2
นี่! นี่คือความจริงครับ คือเราพยายามจะหาวิธีการใหม่ๆ เราไม่จำเป็นต้องอยู่ในวง tech อย่างเดียว เราจะทำยังไง เอาเทคโนโลยีไปพัฒนาให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น นั่นก็เป็นโจทย์ของงานนี้ด้วย เรากำลังแก้ปัญหา ใช่
โอเคครับ มีใครจะเสริมอะไรมั้ยครับ ผมน่าจะจบ session นี้ ประมาณนี้ ของผมครับ
ขอบคุณพี่กุลมากครับ เป็น talk แรกเลยของ session hackathon ยาว 2 เดือน
ขอบคุณที่ให้เกียรติมาจากขอนแก่นนะครับ ได้ข่าวว่าเข้าเมืองครั้งแรกในรอบ 10 ปี ใช่แล้ว หลงทางเข้าบ้านตัวเองด้วย บ้านตัวเองอยู่สมุทรปราการครับ อ๋า ก็ยังไม่ใช่กรุงเทพอีก ใช่
ครับ ไม่ใช่คนกรุงเทพอยู่ดี แต่ก็ขอบคุณมากครับ ก็คือ talk แรกของ Bangkok Open Source Hackathon โดย พี่กุลจากขอนแก่นนะครับ ขอบคุณครับ ต่อไปก็คือ พี่ฮั้นท์ครับ
พี่กุลอุตส่าห์เชื่อมมาขนาดนี้แล้ว ก็ ขอเชิญพี่ฮั้นท์เลยครับ